วิธีการเพื่อความปลอดภัย

วิธีการเพื่อความปลอดภัย

มีใครรู้จักวิธีการเพื่อความปลอดภัยในคดีอาญาบ้างครับ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับคำนี้กันสักเท่าไหร่เพราะเราอาจจะพบเจอได้น้อยมาก แต่ผมบอกไว้เลยว่ารู้ไว้ก็ไม่เสียหายครับ เผื่อเกิดอะไรขึ้นจะได้รู้ เราไปดูกันเลยครับว่าวิธีการเพื่อความปลอดภัยคืออะไร และมีอะไรบ้าง

วิธีการเพื่อความปลอดภัย คืออะไร

วิธีการเพื่อความปลอดภัย คือ มาตรการในทางอาญาอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่บทลงโทษ เป็นมาตรการที่นำมาใช้เพื่อคุ้มครองสังคมและประชาชนให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ไม่ให้บุคคลกระทำความผิดหรือกระทำความผิดซ้ำอีกครับ 

วิธีการเพื่อความปลอดภัยนี้เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ศาลจะกำหนดเพิ่มจากโทษที่ลงแก่ผู้กระทำก็ได้ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของศาลเลยว่าจะกำหนดไว้หรือไม่ ถ้าศาลจะกำหนดเพิ่มก็จะต้องระบุไว้ก็ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แและถ้าผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีโทษเพิ่มเข้าไปอีกได้ครับ

5 วิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา

วิธีการเพื่อความปลอดภัยนี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39 ดังนี้ครับ

          1.กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดจนติดนิสัยไว้ให้อยู่ในเขตที่กำหนด เพื่อไม่ให้ไปกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และฝึกอาชีพ ซึ่งผู้กระทำความผิดจนติดนิสัยนี้คือผู้ที่เคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันหรือเคยถูกพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง

          2.ห้ามเข้าเหตกำหนด คือการห้ามไม่ให้เข้าไปในท้องที่หรือสถานที่ใดๆ ที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา ศาลสามารถกำหนดห้ามเข้าไปในสถานที่นั้นๆ ได้สูงสุด 5 ปีเลย

          3.เรียกประกันทัณฑ์บน คือการที่ศาลกำหนดเงินทัณฑ์บนขึ้นมาให้ผู้กระทำผิดวางเงินไว้ แต่จะกำหนดได้ไม่เกิน 50,000 บาท โดยผู้กระทำสัญญาว่าจะไม่ก่อนเหตุร้ายหรือกระทำความผิดที่ถูกฟ้องอีกภายในเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกิน 2 ปี และศาลอาจจะสั่งให้หาประกันมาด้วยก็ได้

          4.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล คือการคุมตัวผู้กระทำผิดที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนที่ไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษและศาลเห็นว่าถ้าปล่อยไปจะเป็นอันตรายกับผู้อื่น ศาลจะส่งผู้กระทำผิดไปคุมตัวที่สถานพยาบาลก็ได้

          และมาตรการนี้ก็จะใช้กับผู้กระทำความผิดเนื่องจากเสพติดสุราหรือยาเสพติด แล้วศาลลงโทษจำคุกหรือรอการลงโทษและกำหนดในคำพิพากษาว่าห้ามเสพสุราหรือยาเสพติดอีกเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันพ้นโทษหรือรอการลงโทษ ถ้าผู้กระทำฝ่าฝืนกลับไปเสพภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ศาลก็สามารถส่งไปคุมตัวที่สถานพยาบาลก็ได้

          5.ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง คือ กรณีศาลลงโทษผู้กระผิดที่กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และเห็นว่าหากผู้นั้นประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจจะกระทำความผิดอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นโดยกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้ เช่นคนที่ใช้อาชีพที่มีความน่าเชื่อถือของตนไปหลอกลวงคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมานั่นเอง

 

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด