ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ศาลยกฟ้องแล้วอยากฟ้องกลับ
ทำได้หรือไม่?
ในหลายคดี ไม่ใช่ว่าโจทก์ที่เป็นคนฟ้องคดีจะถูกเสมอและที่สำคัญเรื่องที่ฟ้องก็อาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไปจนทำให้ฝ่ายที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต้องเสียหายหรือเสียประโยชน์อะไรบางอย่างไปด้วยการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ ซึ่งจะมีคำที่ตามมาเสมอกับการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตก็คือ “ถ้าชนะคดี จะฟ้องกลับ” แต่การฟ้องกลับนั้นจะฟ้องยังไง ฟ้องในข้อหาอะไร ศาลยกฟ้องแล้วฟ้องกลับได้ในทุกคดีหรือไม่ วันนี้เราเตรียมคำตอบมาให้ทุกคนแล้วครับ
ขอบอกตรงนี้ก่อนเลยว่า ไม่ใช่ทุกคดีที่เราเป็นจำเลยแล้วชนะคดีจะสามารถฟ้องกลับได้ทั้งหมดนะครับ เพราะการใช้สิทธิฟ้องศาลเป็นสิทธิตามกฎหมายที่ทุกคนมี ยกเว้นแต่ว่าการฟ้องคดีนั้นทำโดยไม่สุจริต ไม่ได้หวังผลตามธรรมดาของการใช้สิทธิทางศาล แต่จงใจให้ผู้ถูกฟ้องหรือจำเลยได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะต้องเสียเวลาในการมาศาล หากฟ้องคดีอาญาและศาลประทับฟ้องแล้ว จำเลยก็จะต้องใช้เงินในการประกันตัว รวมถึงต้องเสียเงินในการจ้างทนายความเพื่อเข้ามาต่อสู้คดีด้วย
ดังนั้น การฟ้องกลับก็คือ กรณีที่ฝ่ายโจทก์หรือผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่สุจริต นำความเท็จมาฟ้อง แต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ หรือมีทั้งเรื่องจริงและไม่จริงปนกัน และต่อมาศาลยกฟ้อง ฝ่ายจำเลยสามารถฟ้องโจทก์ที่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลับได้
เมื่อคดีที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเรื่องแต่งขึ้นหรือเป็นเรื่องเท็จ ไม่ใช่เรื่องจริง เราจึงฟ้องกลับในเรื่องที่เกี่ยวกับความเท็จ ซึ่งก็คือ ฟ้องเท็จ และ เบิกความเท็จ ที่เป็นความผิดทางอาญานั่นเอง โดยคดีส่วนใหญ่ที่มีการฟ้องเท็จไปย่อมไปถึงกระบวนการสืบพยานที่จะต้องมีการนำพยานมาเบิกความต่อศาล (ถ้าไม่ถอนฟ้องเสียก่อน) ซึ่งแน่นอนถ้าตั้งฟ้องมาเป็นความเท็จแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การเบิกความในฐานะพยานก็จะเป็นการเบิกความเท็จด้วย เพราะการเบิกความก็จะต้องพยายามเบิกความให้เป็นไปตามคำฟ้องครับ
ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับการฟ้องเท็จและเบิกความเท็จกันดีกว่าว่ากฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความผิดทั้งสองนี้ไว้ว่ายังไงบ้าง และโทษของความผิดดังกล่าวจะเป็นอย่างไร
1. ฟ้องเท็จ
การฟ้องเท็จ เป็นความผิดทางอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟ้องเท็จไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ที่วางหลักว่า ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษ…
กรณีนี้เป็นการนำความเท็จที่เกี่ยวกับความผิดอาญามาแกล้งฟ้องให้ผู้อื่นได้รับโทษ โดยที่ตัวเองก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องจริงหรือไม่เป็นความจริง เช่น ไม่ได้ลักทรัพย์ แต่ไปฟ้องว่าลักทรัพย์ หรือเขาอาจจะแค่ลักทรัพย์ แต่ตอนฟ้องไปฟ้องว่าชิงทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดที่แรงกว่าการลักทรัพย์
โดยไม่ต้องคำนึงว่าคนที่ถูกฟ้องจะได้รับโทษหรือไม่ เพียงแค่เอาเรื่องเท็จไปฟ้องก็มีความผิดฐานนี้แล้วครับ
2. เบิกความเท็จ
การเบิกความเท็จ ก็เป็นความผิดทางอาญาเช่นกัน โดยกฎหมายกำหนดความผิดเกี่ยวกับการเบิกความเท็จไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ที่วางหลักว่า ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษ…
ส่วนความผิดฐานนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการเบิกความในคดีอาญาครับ จะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอะไรก็ได้ แค่เราขึ้นเบิกความในฐานะพยานหรือไปเบิกความที่คอกพยานแล้ว ถ้าสิ่งที่เราเบิกไปเป็นความเท็จโดยที่เรารู้ว่าเป็นความเท็จ และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี คือ เป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้แพ้หรือชนะคดีกัน พยานที่เพิกความจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จนั่นเองครับ
ก็จบกันไปแล้วนะครับ ทุกคนน่าจะทราบเกี่ยวกับเรื่องการฟ้องกลับกันแล้วว่าจะฟ้องในข้อหาอะไร แล้วกรณีไหนบ้างที่ศาลยกฟ้องแล้วฟ้องกลับได้ แต่จริงๆ แล้วการฟ้องกลับอาจจะฟ้องได้อีกกรณีหนึ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้ยื่นฟ้องด้วยตัวเอง แต่ไปแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจให้มาดำเนินคดีอาญากับเรา ซึ่งความที่เอาไปแจ้งกับตำรวจนั้นเป็นความเท็จ แบบนี้ก็เป็นอีกกรณีที่เราสามารถฟ้องกลับฐานแจ้งความเท็จได้นั่นเองครับ ดังนั้น ศาลยกฟ้องแล้วฟ้องกลับได้หรือไม่ คำตอบก็เป็นไปตามที่ผมได้เล่ามาเลยครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่