ข้อควรระวัง สัญญาจะซื้อจะขาย

สัญญาจะซื้อจะขาย เป็นสัญญาที่มีการซื้อขายกันอย่างแน่นอนในอนาคต เมื่อมีการจอง วางเงินมัดจำ และตกลงเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ ถ้าสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาก็ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ มีอะไรบ้างที่เป็นข้อควรระวัง ในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย

ข้อควรระวัง สัญญาจะซื้อจะขาย

ข้อควรระวัง สัญญาจะซื้อจะขาย

              สัญญาจะซื้อจะขาย คือ ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ซื้อ อีกฝ่ายคือผู้ขาย เป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน,บ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ จะเป็นสัญญาฉบับเดียวหรือสองฉบับก็ได้ โดยมีการตกลงกันว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือซื้อขายอย่างถูกต้องตามกฎหมายในภายภาคหน้า เพื่อสัญญาว่าจะมีการซื้อขายกันอย่างแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะซื้อจะขาย

               สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

สัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นตอนไหน

              สัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นตอนไหน เช่น ตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยสามารถตกลงจะซื้อจะขายปากเปล่าก็ได้ แต่ข้อควรระวังถ้าตกลงกันปากเปล่าเลยก็คือ ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามมาตรา 456 วรรคสอง นั้นเอง จึงแนะนำว่าควรทำสัญญาเป็นหนังสือโดยระบุรายละเอียดของคู่สัญญา , รายละเอียดทรัพย์สิน , ระบุรายละเอียดโฉนดที่ดิน (น.ส.4 ,น.ส.4 จ) , ระบุข้อตกลงต่างๆ การวางเงินมัดจำเพื่อจองทรัพย์สิน ช่องทางชำระเงิน , ระยะเวลาของสัญญา และการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ หรือระบุข้อตกลงพิเศษที่จะใช้บังคับระหว่างคู่สัญญากรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา หรืออื่นๆ และลงลายมือชื่อคู่สัญญาเป็นสำคัญต่อหน้าพยาน หนังสือสัญญาดังกล่าวจึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โดยกรรมสิทธิ์จะโอนมาเป็นของผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญามีการชำระเงินครบถ้วนแล้ว และผู้ขายได้มีการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ ต่อสำนักงานที่ดิน เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนขายตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว การซื้อขายตามสัญญาจะซื้อจะขายสมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อควรระวัง ในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย

1. ไม่ควรตกลงกันด้วยปากเปล่า ควรทำสัญญาเป็นหนังสือ เพื่อสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันภายหลังได้ กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา
2. ควรทำการตรวจสอบสภาพบ้านหรือที่ดินที่จะซื้อ หรือควรมีการรังวัดสอบเขตที่ดิน ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนในภายหลัง
3. การซื้อขาย แม้มีนายหน้าที่ดิน ควรที่จะรู้จักผู้ขาย ที่เป็นเจ้าของที่ดินด้วย เช่น บัตรประชาชน , ทะเบียนบ้าน ,หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ไม่ได้เจอเจ้าของจริง เจอแต่ตัวแทนนายหน้า กรณีซื้อขายตรงกับเจ้าของ เช่นมีการนัดเจอกันที่ที่ดิน แลกข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ของทั้งสองฝ่าย และควรมีพยานรู้เห็นด้วย
4. ตรวจสอบความถูกต้อง ของสัญญาจะซื้อจะจะขายว่าเป็นไปตามข้อตกลงหรือไม่ก่อนลงนาม และควรมีพยานทั้งสองฝ่าย รับรู้การทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวด้วย
            ซึ่งในส่วนของการร่างสัญญา ถ้ากลัวว่าสัญญาไม่ครอบคลุม อื่นๆสามารถให้ทางสำนักงานช่วย ดูแลในจุดนี้ใน
การร่างสัญญาได้เลยครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด