ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เชื่อว่าใครทุกคนต่างมีเรื่องราวบางเรื่องที่ไม่อยากเปิดเผยให้โลกรับรู้ การเจรจาทางธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลบางอย่างมีความสำคัญอย่างยิ่งจนถึงขนาดถ้าถูกเปิดเผยออกไปความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมากกว่ากำไรของบริษัททั้งปีก็เป็นได้ โดยเฉพาะข้อมูลในลักษณะที่เป็น “ความลับทางธุรกิจ”
เมื่อธุรกิจต่าง ๆ ไม่อาจอยู่ได้โดยลำพังจำต้องพึ่งพาธุรกิจอื่น ๆ ในการดำเนินการ เช่น การจ้างบริษัท IT เข้ามาดูแลระบบ หรือจ้างบริษัท HR หรือ บริษัท Headhunter มาช่วยในเรื่องการบริหารและสรรหาบุคลากร เป็นต้น การเจรจาทางธุรกิจแต่ละครั้งจึงต้องให้แน่ใจว่าคู่สัญญาหรือคู่ค้านั้นจะไม่นำไปความลับทางธุรกิจของเราไปเปิดเผย ดังนั้น เครื่องมือหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจสำคัญ ๆ ก็คือ “สัญญารักษาความลับ” (Non-Disclosure Agreement หรือ NDA) นั่นเอง
ข้อมูลที่จัดเป็นความลับนั้นขึ้นอยู่กับการประเภทของธุรกิจและอาจมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัทหรือแต่ละโครงการ แต่โดยทั่วไปข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกจัดเป็นความลับที่ห้ามเปิดเผยในธุรกิจส่วนมาก
1. ความลับทางการค้า
เช่น แบบพิมพ์เขียว สูตรหรือเทคนิค ข้อมูลในสิทธิบัตร ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2. ข้อมูลทางธุรกิจกับคู่ค้า
เช่น ข้อมูลการร่วมทุนหรือความตกลงที่บริษัทมีกับคู่ค้าอื่น ข้อมูลการควบธุรกิจ ข้อมูลคู่ค้า ข้อมูลการตรวจสอบ (Audit) ข้อมูลทางงบประมาณและการเงิน เป็นต้น
3. ข้อมูลทางธุรกิจอื่น
เช่น ข้อมูลราคา ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับแผนงาน ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
การทำสัญญารักษาความลับนั้นควรพิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่คู่สัญญาจะได้รับไปในการทำสัญญานั้น ๆ เป็นหลัก หากข้อมูลที่เราจำเป็นต้องเปิดเผยต่อคู่สัญญาเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก แม้ในสัญญาที่อาจมีมูลค่าไม่มากนักก็ควรจะต้องให้คู่สัญญาลงนามในสัญญารักษาความลับเสมอ แต่หากข้อมูลที่เปิดเผยนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่มีความสำคัญ สัญญารักษาความลับก็อาจจะไม่จำเป็นในงานนั้น ๆ
โดยทั่วไปแล้วในสัญญารักษาความลับอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของคู่สัญญาและลักษณะของธุรกิจ แต่โดยมาตรฐานแล้วสัญญารักษาความลับมักมีสาระสำคัญได้แก่
1. การกำหนดคู่สัญญาที่มีหน้าที่ห้ามเปิดเผยข้อมูล
2. การกำหนดข้อมูลที่เป็นความลับ
3. ข้อยกเว้นของข้อมูลที่เป็นความลับ
4. หน้าที่ในการห้ามเปิดเผยความลับ
5. ระยะเวลาในการห้ามเปิดเผยข้อมูล
6. บทเบ็ดเตล็ด
โดยในบทความฉบับหน้าจะได้กล่าวถึงสาระสำคัญในแต่ละเรื่องโดยละเอียดต่อไป ข้อสัญญารักษาความลับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่