ยื่นอุทธรณ์และฎีกาคดีแพ่งอย่างไรให้ถูกต้อง? สรุปขั้นตอนและเงื่อนไขสำคัญ
ยื่นอุทธรณ์และฎีกาคดีแพ่งอย่างไรให้ถูกต้อง? สรุปขั้นตอนและเงื่อนไขสำคัญ อุทธรณ์ค
สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทรัพย์สินแบ่งได้หรือไม่ และเป็นของใคร
ความเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น…หากหญิงชายจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันนั้นย่อมเป็นสินสมรสร่วมกัน ตามมาตรา 1474 และเมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน ตามมาตรา 1533
ฉะนั้น หากสามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่จะแบ่งได้ แบ่งส่วนละเท่ากันได้หรือไม่ แล้วทรัพย์สินจะเป็นของใคร หากเลิกรากันแล้ว
ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากครับ เพราะบางคู่ก็ตกลงกันได้ บางคู่ก็ตกลงไม่ได้ ซึ่งต้องมีการเทียบข้อกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ทรัพย์สินที่ชายหญิงได้ลงทุน ร่วมแรง ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินกันนั้นถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์เช่นเดียวกัน และมีส่วนในทรัพย์สินนั้นคนละครึ่ง
การที่ชายหญิงอยู่กินร่วมกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หากปรากฏว่าระหว่างที่อยู่กินด้วยกันนั้น ชายและหญิงมีการลงทุน ร่วมแรง ทำมาหาได้ร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นการลงทุนทำธุรกิจด้วยกัน เช่น ชายไปทำงาน หญิงอยู่บ้านทำกับข้าว เลี้ยงลูกดูแลครอบครัวก็ถือว่าเป็นการลงทุน ร่วมแรง ทำมาหาได้ร่วมกันแล้ว ทรัพย์สินที่สามีทำมาหาได้นั้น ก็ถือเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือประกอบธุรกิจร่วมกัน หรือต่างคนต่างทำงานประจำ ต่างคนต่างประกอบธุรกิจของตนเองแต่นำเงินที่ได้มาใช้จ่ายในครอบครัว ซื้อทรัพย์สินร่วมกัน หรือทรัพย์สินที่งอกเงยระหว่างลงทุนร่วมกัน ก็ถือว่าต้องแบ่งกัน แต่หากทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เช่น มรดก กรณีนี้เป็นทรัพย์ของฝ่ายที่ได้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว เป็นต้น
นอกจากนั้น กรณีชายแต่งงานกับชาย , หญิงแต่งงานกับหญิง มีการอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา ทรัพย์สินที่ทั้งสองทำมาหาได้ด้วยกันนั้น ต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งทรัพย์สินเท่ากัน
หากตกลงไม่ได้ ให้เปรียบเทียบข้อกฎหมายมาตรา 1634 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
ดังนั้น หากคุยกันไม่ลงตัว กรณีเป็นที่สงสัย หรือต้องการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน สามารถปรึกษาสำนักงาน MKC LEGAL เพื่อรับคำปรึกษาเบื้องต้น หรือให้ทางเราดูแลคดีของคุณได้ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ยื่นอุทธรณ์และฎีกาคดีแพ่งอย่างไรให้ถูกต้อง? สรุปขั้นตอนและเงื่อนไขสำคัญ อุทธรณ์ค
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี