ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
หนี้นอกระบบ คือ เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ผ่านระบบของสถาบันการเงิน หรือไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เป็นเงินกู้ที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับใช้กับเจ้าหนี้ หรือบางครั้งต้นทางของเงินอาจมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนัน ยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เมื่อเรากู้นอกระบบ เงินที่ได้มาก็จะถือเป็นหนี้นอกระบบ
หนี้นอกระบบจะมีทั้งหนี้ระยะสั้น หรือรายวัน โดยเจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายวัน โดยบวกเข้าไปกับเงินต้นที่ต้องจ่ายแต่ละวัน และหนี้ระยะยาว ซึ่งมักเป็นการปล่อยกู้มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายเดือนจนกว่าจะมีเงินต้นมาใช้คือ บางรายหากกู้เป็นจำนวนมากก็จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ด้วย การกู้เงินนอกระบบมีข้อดีเด่นๆ เพียงข้อเดียวคือ ความสะดวก เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาหลายขั้นตอนเหมือนการกู้ผ่านสถาบันการเงิน จึงได้เงินง่ายและไวกว่า
1.ดอกเบี้ยแพงมหาโหด
ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นสูงกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อธนาคารหลายเท่าตัว และส่วนมากจะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีหรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เผลอๆ อาจสูงกว่า 30% ต่อปี เรียกว่าสูงจนคาดไม่ถึง และทำให้ผู้ที่กำลังร้อนเงินเป็นเหยื่อโดยไม่ทันระวัง
2.ดอกเบี้ยทบต้นทบดอก
หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เต็มจำนวนในคราวเดียว ก็จะมีการคิดดอกเบี้ยลอย โดยจะต้องทยอยจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ทำให้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่ายถูกสะสมเข้าทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เมื่อเวลาผ่านไป เงินกู้ก้อนเล็กๆ จะกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด
3.บั่นทอนสวัสดิภาพ
ธุรกิจเงินกู้นอกระบบบางครั้งก็เป็นธุรกิจสีเทา ที่อาจมีการทวงถามชำระหนี้ที่ไม่เป็นมิตร และอาจเป็นอันตรายต่อลูกหนี้ อาทิ การทำให้อับอาย การข่มขู่ คุกคาม ทำลายทรัพย์สิน อาจโดนยึดบ้าน ยึดรถหรือทำร้ายร่างกาย
4.ตรวจสอบไม่ได้ กฎหมายไม่คุ้มครอง
สัญญาเงินกู้นอกระบบมักเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ตรวจสอบไม่ได้ และเป็นไปตามความต้องการของเจ้าหนี้ ไม่สามารถต่อรอง หรือร้องขอความคุ้มครองทางกฎหมายได้ นี่เองคือสิ่งที่ต้องแลกกับความง่ายของเงินกู้นอกระบบ
1.ปล่อยเงินกู้สุดง่าย ไม่ต้องมีเครดิต
2.อ้างว่าได้เงินไวผ่อนสบาย
3.บอกอัตราดอกเบี้ยเป็นรายวันหรือรายเดือนให้เลขดูน้อย
1.วางแผนการเงินล่วงหน้า
2.คิดให้ดีก่อนตัดสินใจ ก่อหนี้
3.หยุดใช้เงินเกินตัว
4.ศึกษารายละเอียดผู้กู้ให้ดี
5.เลือกกู้เงินในระบบ
6.ใส่ใจรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้มาก
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อของเงินกู้นอกระบบ ที่ทั้งให้คำแนะนำ และคุ้มครองลูกหนี้ รวมทั้งช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ อาทิ ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน โทร. 1359 , ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โทร. 0-2575-3344 , ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567 ,ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ โทร.1599
สุดท้ายนี้ ถ้าคิดจะกู้เงินนอกระบบให้ศึกษา และประเมินความเสี่ยงรอบด้าน รวมทั้งความพร้อมในการชำระหนี้ มิฉะนั้นหนี้อาจจะปานปลายถึงขั้น ต้องขายบ้าน ขายรถปิดหนี้ หรือหนี หรือใช้ไม่มีวันหมดสักที ถ้าคิดจะเป็นหนี้ แนะนำควรเป็นหนี้เงินกู้ในระบบดีกว่านะคะ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่