หมายศาลประเภทอื่นๆ

หมายศาลประเภทอื่นๆ

หมายศาลแต่ละประเภท กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ต้องกระทำไม่เหมือนกัน และผลมีทางกฎหมายที่ต่างกันไป ตามที่เคยแนะนำไปก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ยังมีหมายศาลประเภทอื่นๆตามกฎหมายดังนี้

1.หมายเรียกพยานบุคคล

เมื่อได้รับหมายประเภทนี้แล้ว จะต้องไปศาลตามวันเวลาที่ระบุในหมายเท่านั้น เพื่อไปเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาล หากขัดขืนไม่ไปตามนัด จะมีโทษตามกฎหมาย ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้ออกหมายจับเอาตัวกักขังได้ เว้นเสียแต่ว่ามีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจไปศาลในวันนั้นได้ โดยจะต้องทำหนังสือเป็นแจ้งไปยังศาลให้ทราบถึงเหตุขัดข้องนั้น

2.หมายเรียกพยานเอกสารหรือวัตถุ

ในคดีแพ่งจะเรียกหมายชนิดนี้ว่า คำสั่งเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ส่วนในคดีอาญาจะเรียกว่า หมายเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ซึ่งผู้มีชื่อในหมายดังกล่าวนั้นมีหน้าที่ จะต้องส่งเอกสารหรือพยานวัตถุไปยังศาล ตามรายการที่ระบุไว้ในหมาย

หากขัดขืนจะมีโทษตามกฎหมาย แต่หากไม่มีพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือมีแค่บางส่วน ก็สามารถทำหนังสือเพื่อเป็นการแจ้งเหตุขัดข้องไปยังศาลให้ท่านทราบ ถึงเหตุขัดข้องนั้นก็ได้เช่นกัน

3.หมายบังคับคดี

เป็นหมายในคดีแพ่ง ที่ศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้คดีแล้ว และไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  จึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับหมายบังคับคดีแล้ว มีหน้าที่จะต้องชำระหนี้หรือปฏิบัติตามคำพิพากษามิฉะนั้นอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

4.หมายค้น หมายจับ หมายขัง หมายจำคุก และหมายปล่อย

           “หมายจับ” หมายถึงหนังสือบงการที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับผู้ต้องหาจำเลย หรือนักโทษรวมทั้งสำเนาหมายจับที่ได้รับรองว่าถูกต้องคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่า ได้ออกหมายจับแล้วตลอดจนสำเนาหมายจับที่ได้ ส่งโทรสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น

          “หมายค้น” หมายถึงหนังสือบงการที่ศาลได้ออกตามเหตุของกฎหมายเพื่อค้นหาบุคคลหรือสิ่งของในที่รโหฐาน

          “หมายขัง” หมายถึงหนังสือบงการที่ศาลเป็นผู้ออกเพื่อกักขังผู้ต้องหา หรือจำเลยตามหมายนั้นโดยพลัน ไว้ในระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี

          “หมายจำคุก” หมายถึงหนังสือบงการที่ศาลเป็นผู้ออก เพื่อนำตัวผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิตหรือจำคุกแทนค่าปรับ

          “หมายปล่อยตัว” หมายถึงหนังสือบงการที่ออกตามประมวลกฎหมายวิอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการปล่อยตัวผู้ต้องหาจำเลยหรือนักโทษตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล

           หมายเหตุ : หมายอาญาตามข้อ 4. จะมีรายละเอียดลงลึกแตกต่างกันไปซึ่งศาลจะกำหนดไว้ในหมายว่าจะดำเนินการอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด