ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เมื่อมีหมายเรียกตำรวจส่งมาที่บ้าน หลายคนตกใจว่าเราไปทำอะไรผิดหรือเปล่า และอาจสงสัยต่อไปอีกว่าเรายังไม่ได้ทำอะไรเลยทำไมถึงมีกระดาษที่เขียนกลางหัวกระดาษว่า “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ส่งมาถึงเรา หากใครยังไม่เจอเเรื่องแบบนี้บอกเลยว่าดีแล้วครับ แต่หากใครกลัว วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่าถ้าได้รับหมายเรียกจากตำรวจ สิ่งที่เราจะต้องทำหรือเตรียมตัวมีอะไรบ้าง
อย่างแรกเลย เราจะต้องอ่านตัวหมายเรียกนั้นให้ดีก่อนว่าเป็นหมายเรียกอะไร
กล่าวคือหมายเรียกตำรวจก็จะมี 2 ประเภทครับ
1.หมายเรียกผู้ต้องหา และ
2.หมายเรียกพยาน โดยเราสามารถดูได้จากมุมบนซ้ายของกระดาษครับ
และสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการตั้งสติและอ่านรายละเอียดในหมายเรียกนั้นทั้งหมดครับ โดยผมลองแยกเนื้อหาในหมายเรียกออกมาให้ทุกคนเห็นกัน ดังนี้ครับ
1.ชื่อหมายเรียกผู้ต้องหา/พยาน
2.สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก และ วันที่ออกหมายเรียก
3.คดีระหว่างใคร (ใครเป็นผู้กล่าว / ใครเป็นผู้ต้องหา)
4.ชื่อและข้อมูลผู้รับหมาย (ตำรวจส่งหมายมาให้ใครก็จะระบุไว้ในส่วนนี้)
5.กรณีหมายเรียกผู้ต้องหา – ความผิดที่ถูกกล่าวหา
กรณีหมายเรียกพยาน – เหตุที่เรียกมาเป็นพยานหรือให้ปากคำ
6.สถานที่และพนักงานสอบสวนที่ให้เราไปพบ
7.วันที่และเวลาที่ให้เราไปพนักงานสอบสวน
8.ส่วนใบตอบรับ
โดยหมายเรียกทั้ง 2 ประเภทจะมีความแตกต่างกันดังนี้ครับ
1.หมายเรียกพยาน คือกรณีที่ตำรวจต้องการเรียกเราไปเพื่อเป็นพยาน เราไม่ได้มีส่วนร่วมของการกระทำความผิด แต่เราอาจจะเห็นเหตุการณ์ หรือตำรวจอาจจะต้องการอะไรบางอย่างจากเรา หรืออาจจะเป็นกรณีที่ตำรวจสงสัยว่าเราอาจจะกระทำความผิดหรือมีส่วนในการกระทำความผิด แต่ยังไม่แน่ใจ ก็อาจจะออกหมายเรียกพยานเพื่อขอปากคำก่อน
2.หมายเรียกผู้ต้องหา คือกรณีที่มีคนไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนว่าเรากระทำความผิด หากพนักงานสอบสวนตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเชื่อว่าเราน่าจะไดด้กระทำความผิดดจริงๆ ก็จะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้เราไปพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานอะไรนั่นเอง
อย่างแรกเลยหากมีข้อสงสัย ในหมายเรียกนั้นๆ จะมีเบอร์ติดต่อของพนักงานสอบสวนที่ออกหมายอยู่ เราก็สามารถโทรไปสอบถามพนักงานสอบสวนที่ออกหมายโดยตรงได้เลย
หลังจากนั้นควรจะนำหมายเรียกมาปรึกษาทนายความว่าควรจะทำอย่างไร เราควรจะให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนแบบไหน คือเราต้องให้ปากคำตามความจริงอยู่แล้ว แต่หากนำมาปรึกษาทนายความ ทนายความอาจดูข้อเท็จจริงแล้วอาจแนะนำแนวทางว่าอะไรควรบอก อะไรไม่ควรบอก อะไรควรระมัดระวัง เพื่อประโยชน์ของคุณล้วนๆ เลยครับ และมากไปกว่านั้นเราก็อาจขอให้ทนายความหรือเอาคนที่เราไว้ใจไปฟังการสอบปากคำด้วย (กรณีหมายเรียกพยานขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวนว่าจะให้หรือไม่ด้วยอีกที)
เมื่อไปพบพนักงานสอบสวนแล้วในกรณีที่ไปตามหมายเรียกผู้ต้องหา กรณีนี้ตำรวจยังไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวเรา ดังนั้นจึงยังไม่ต้องมีการประกันตัว ยกเว้นในกรณีความผิดร้ายแรงที่อาจจะพาไปฝากขับที่ศาลได้เลย แต่เขก็มักจะไม่ทำกันครับ เพราะถ้าเป็นความผิดร้ายแรงส่วนใหญ่ก็จะออกมาเป็นหมายจับเลยนั่นเอง
กรณีหมายเรียกพยาน หากฝ่าฝืนแล้วไม่ยอมไปตามหมายเรียก เราก็อาจถูกแจ้งข้อหาหรือดำเนินคดีในความผิดฐานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีหมายเรียกผู้ต้องหา หากฝ่าฝืนตำรวจจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาส่งมาถึงเราอีก 1 ครั้ง และหากเรายังฝ่าฝืนไม่ไปตามหมายอยู่ แบบนี้ตำรวจก็สามารถออกหมายจับเพื่อดำเนินการจับกุมเราได้
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่