การทำงานของเครื่องจับเท็จและบทบาทในกระบวนการยุติธรรม

การทำงานของเครื่องจับเท็จและบทบาทในกระบวนการยุติธรรม

            ทุกคนคงจะเคยเห็นการสอบสวนตามหนังหรือซีรีส์ที่จะมีการใช้เครื่องจับเท็จเข้ามาเป็นตัวช่วยกันใช่ไหมครับ วันนี้เราเลยนำความรู้เรื่องเครื่องจับเท็จที่ใช้ในการสอบสวนมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าหลักการทำงานมันเป็นอย่างไรและตัวเครื่องจับเท็จนี้มันจะสามารถจับการโกหกได้ 100% หรือเปล่า เราไปดูกันเลยครับ

เครื่องจับเท็จหรือโพลีกราฟ (Polygraph)

เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจจับการโกหก ส่วนมากมักจะนำมาใช้ในการสอบสวนคดี โดยเครื่องจะแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นกราฟผลลัพธ์การหายใจ การเต้นของชีพจร ความดันโลหิต อุณหภูมิ และการขยายตัวของปอดไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าผู้ถูกทดสอบกำลังพูดความจริงหรือกำลังโกหก เครื่องจับเท็จเท็จนี้จะมีการแสดงผลออกมาเป็นกราฟ กราฟที่แสดงของคนที่พูดความจริงกับคนที่พูดโกหกก็จะมีความไม่เหมือนกันครับ

การทำงานของเครื่องจับเท็จนี้จะใช้การจับสัญญาณการตอบสนองของร่างกาย แม้เราจะสามารถควบคุมสีหน้า อาการ หรืออารมณ์ได้ แต่เมื่อเราจะต้องโกหก ร่างกายก็จะมีการตอบสนองต่อการโกหกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เครื่องจับเท็จจึงใช้ประโยชน์จากการที่เราไม่สามารถควบคุมการตอบสนองบางอย่างของร่างกายได้มาใช้เป็นหลักในการตรวจจับนั่นเอง โดยจะมีการติดตัวรับหรือตัวจับสัญญาณของร่างกายไว้ที่ตัวผู้ถูกทดสอบประมาณ 4-6 จุด เพื่อจับสัญญาณที่ร่างกายแสดงออกมาเมื่อเราตอบคำถาม ซึ่งจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจับเท็จเป็นผู้ทดสอบด้วย ไม่ใช่ว่าใครก็จะมาใช้เครื่องนี้ได้ครับ

การทำงานและระบบการทำงานของเครื่องจับเท็จ

                เมื่อเราตอบคำถามแล้วเราพูดโกหก ตัวจับสัญญาณก็จะสามารถรับรู้ได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา 

               โดยเครื่องจับเท็จนี้จะทำงานโดยใช้ 4 ระบบดังนี้

1 อัตราการหายใจ – จับการทำงานของปอด

2 วัดความดันโลหิต – จะมีการพันแถบวัดความดันโลหิตที่ต้นแขนและต่อเข้ากับเครื่องวัด โดยจะวัดเลือดที่สูบฉีดผ่านแขน

3 วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง – ตรงที่จานรองนิ้วจะเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า หากมีเหงื่อออกที่ปลายนิ้วหรือผิวหนังชื้น 

จะนำกระแสไฟฟ้าได้ง่ายกว่าผิวหนังที่แห้ง

4 การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ – บันทึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หากพูดเท็จการแสดงผลกราฟจะแกว่งขึ้น-ลง อย่างไม่คงที่

          แต่สุดท้ายแล้วเครื่องจับเท็จนี้อาจเสถียรจริง แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความตื่นเต้น หากเขาพูดความจริงแต่เขาตื่นเต้นล่ะ แบบนี้เครื่องก็อาจจะจับว่าโกหกได้เหมือนกันครับ เครื่องจับเท็จนี้จึงมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80-90%

บทบาทในกระบวนการยุติธรรมของเครื่องจับเท็จ

          ทีนี้เรามาดูว่าเครื่องจับเท็จจะเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างในกระบวนการยุติธรรม โดยเมื่อเราได้ตัวผลตรวจจากเครื่องจับเท็จมาแล้ว ตัวผลตรวจที่เป็นกราฟหรือผลการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญที่ใช้เครื่องจับเท็จนั้นก็จะถูกนำเข้าสู่สำนวนการสอบสวนไป แต่พอขึ้นสู่ชั้นศาล ศาลก็จะถือว่าพยานหลักฐานจากเครื่องจับเท็จเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นพยานหลักฐานชนิดหนึ่ง สามารถนำสืบหรือรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่สุดท้ายศาลก็ต้องพิเคราะห์ดูเปรียบเทียบกับพยานหลักฐานอื่นๆ ด้วย เช่น DNA ที่มีความแม่นยำในการตรวจพิสูจน์ความจริงที่ชัดเจนกว่า ตัวผลเครื่องจับเท็จนี้จึงถูกจัดอยู่ในพยานหลักฐานซึ่งมีความบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227/1 ซึ่งเวลาศาลจะวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานนี้ ศาลจะต้องใช้ความระมัดระวัง โดยที่จะอาศัยพยานหลักฐานที่เป็นผลจากเครื่องจับเท็จเพียงลำพังมาลงโทษจำเลยไม่ได้ครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด