ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เพิกถอนนิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉล
ทำอย่างไรได้บ้าง
การทำนิติกรรมหรือสัญญาอะไรสักอย่าง ผู้ที่ทำจะต้องมีเจตนาที่จะผูกพันตามที่ตกลงกัน ไม่ถูกกลฉ้อฉล ข่มขู่ หรือสำคัญผิดที่จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของนิติกรรมหรือสัญญานั้น วันนี้เราจะมาดูกันในเรื่องนิติกรรมที่ทำขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉลว่าคืออะไร และเราสามารถแก้ไขมันได้ยังไงบ้าง
กลฉ้อฉล คือ การใช้กลอุบายหรือการแสดงข้อความที่เป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้อีกฝ่ายหลงเชื่อและยอมทำอะไรบางอย่าง ดังนั้น นิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉลก็คือ การที่อีกฝ่ายใช้กลอุบายหรือแสดงข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงให้เราหลงเชื่อและยอมเข้าทำนิติกรรมนั้น และกลฉ้อฉลนั้นจะต้องถึงขนาดที่ถ้าไม่ถูกหลอก ก็จะไม่เข้าทำนิติกรรมนั้นด้วยครับ
เช่น – นาย A ถูกหลอกให้โอนที่ให้นาย B เพราะนาย B หลอกว่าได้โอนเงินค่าที่ดินเข้าบัญชีภรรยาของ A แล้ว
– นาย ข. เสนอขายที่ดินที่มีไฟฟ้าแรงสูงผ่านแก่นาย ก. แต่ชี้ที่ดินแปลงอื่นที่ไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงให้นาย ก. ดูเพราะนาย ก. ไม่ต้องการให้มีอะไรผ่านที่ดิน นาย ก. หลงเชื่อจึงตกลงซื้อ
หากทำนิติกรรมไปเพราะถูกกลฉ้อฉล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 กำหนดเอาไว้ว่า การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ ซึ่งโมฆียะก็คือสมบูรณ์นะครับ คือถ้าทำนิติกรรมอะไรไปแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้างหรือง่าย ๆ ก็คือ บอกยกเลิกนั่นเองครับ
นิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉลจะตกเป็นโมฆียะ คือสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง หากเราต้องการจะเพิกถอนนิติกรรมนั้นก็สามารถทำได้ด้วยการ “บอกล้าง” โดยกฎหมายกำหนดให้แสดงเจตนาบอกล้างนั้นแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งผลของการบอกล้างคือนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ คือ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น เหมือนไม่เคยทำนิติกรรมหรือสัญญานั้นมาก่อนเลยนั่นเองครับ
ซึ่งส่วนใหญ่ วิธีที่ทนายความหรือนักกฎหมายใช้ในการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะก็คือการส่งหนังสือหรือ Notice ส่งให้คู่กรณีโดยมีเนื้อหาว่า ขอบอกล้างนิติกรรมที่ได้ทำไปให้ตกเป็นโมฆะครับ
กรณีฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ถูกฉ้อฉลนี้จริง ๆ สามารถทำได้ 2 วิธี
1. บอกล้างโมฆียะแล้ว
กรณีที่เรารู้ว่าถูกกลฉ้อฉลให้ทำนิติกรรม เราสามารถส่งหนังสือแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้เลย ซึ่งการบอกล้างนั้นทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะและเรียกคืนสิ่งที่ได้เสียไปจากการทำนิติกรรมนั้น แต่หากคู่กรณีไม่ยอมคืน จึงฟ้องคู่กรณีโดยอ้างว่ามีการบอกล้างโมฆียะกรรมให้ตกเป็นโมฆะแล้ว จึงมาฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกสิ่งที่เสียไปคืน
2.ไม่ได้บอกล้างโมฆียะ
กรณีไม่ได้บอกล้างโมฆียะ เราสามารถยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉลได้เลย ซึ่งการฟ้องเพิกถอนดังกล่าว กฎหมายถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมไปในตัวแล้ว จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมและเรียกสิ่งที่ต้องเสียไปจากการทำนิติกรรมคืนได้นั่นเอง
เราขอแวะมาให้เกร็ดความรู้ที่หลายคนอาจจะสับสนหรือเข้าใจผิด การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉล กับ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล เป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ถูกกลฉ้อฉลเป็นเรื่องที่ทำนิติกรรมไปเพราะถูกหลอกตามที่ผมได้เล่าไปข้างต้นเลย
แต่การเพิกถอนการฉ้อฉลเป็นกรณีที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอะไรบางอย่างไปซึ่งการทำนิติกรรมนั้นทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ หรือง่าย ๆ ก็คือการโอนทรัพย์สินหนีไม่ให้เจ้าหนี้มาบังคับนั่นเองครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่