ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกต้องรู้!! เหตุเสียสิทธิในการรับมรดก มีอะไรบ้าง
การที่เราจะได้รับมรดกจากใครสักคน อย่างแรกเราจะต้องมีฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อน แต่ถึงแม้เราจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแล้วก็ตาม เราก็อาจเสียสิทธิที่จะรับมรดกได้ด้วยเหตุบางอย่างเช่นกัน วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนมาดูว่าเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ทายาทเสียสิทธิในการรับมรดกไป
การเสียสิทธิในการรับมรดก คือ การที่ทายาทผู้มีสิทธิที่จะได้รับมรดกของเจ้ามรดกเสียสิทธิที่จะได้รับมรดกไปด้วยเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยผมจะขอพูดถึงการเสียสิทธิไปโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก และ 2. ถูกตัดไม่ให้รับมรดก
1. ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก
การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเป็นการเสียสิทธิในการรับมรดกเพราะเหตุบางอย่างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกี่ยวกับการทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ดีต่อเจ้ามรดกหรือทรัพย์มรดก หากเข้าเหตุ ทายาทคนนั้นก็จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก ซึ่งก็จะแบ่งออกเป็น 2 เหตุ
1.1 ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
กรณีนี้เป็นกรณีที่ทายาทยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น
1.2 เป็นผู้ไม่สมควรรับมรดก กฎหมายกำหนดเอาไว้ 5 กรณี
(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น
(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
2. ถูกตัดไม่ให้รับมรดก
การเสียสิทธิในการรับมรดกโดยการถูกตัดไม่ให้รับมรดกนั้นจะต้องเป็นการตัดก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยการตัดนี้ใช้กับการตัดทายาทโดยธรรมไม่ให้ได้รับมรดกตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้
2.1 ตัดโดยชัดแจ้ง มี 2 วิธีตามกฎหมาย
(1) ทำเป็นพินัยกรรม
(2) ทำเป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
2.2 ตัดโดยปริยาย
กรณีนี้เป็นกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่คนอื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม คือ เมื่อยกทรัพย์มรดกให้คนอื่นหมดแล้ว ทายาทโดยธรรมก็ไม่มีมรดกที่จะได้รับตามกฎหมาย จึงเป็นการตัดไม่ให้รับมรดกโดยปริยายนั่นเอง
ก็จบกันไปแล้วนะครับกับเรื่องการเสียสิทธิในการรับมรดก การเสียสิทธิหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็นเรื่องที่กฎหมายต้องการลงโทษผู้ที่ไม่สุจริตหรือทำไม่ดีต่อเจ้ามรดก ทายาทคนอื่นๆ และทรัพย์สินที่เป็นมรดกนั่นเองครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่