ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เมื่อผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่
หรือไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
หรือผู้จัดการมรดกจัดการมรดกในทางที่เสีย
เหตุใดบ้าง ที่สามารถเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ทำให้ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่ ตามปพพ.มาตรา 1719 คือ มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายตามพินัยกรรม และเพื่อจัดการทรัพย์มรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก หากมรดกไม่ได้รับการแบ่งสู่ทายาท เหตุใดบ้างที่สามารถเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้บ้าง แล้วใครเป็นผู้ร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
ตามปพพ.มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
ถึงแม้ว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
1.ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ ตามมาตรา 1727 เช่น
1.1 ผู้จัดการมรดก ปฏิเสธหรือเพิกเฉย ไม่ทำการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทเมื่อทายาททวงถาม
1.2.ผู้จัดการมรดกไม่จัดการแบ่งมรดกตามหน้าที่และไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี (กรณียังไม่มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันเลย) ตามมาตรา 1732 ประกอบมาตรา 1727
2.เหตุอย่างอื่นที่สมควร ตามมาตรา 1727 เช่น
2.1 ผู้จัดการมรดกไม่สุจริตต่อหน้าที่ กล่าวคือ ผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก โดยปิดบังจำนวนทายาทที่แท้จริง หรือปิดบังจำนวนทรัพย์มรดกที่ควรบอกให้ทราบ
2.2 ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมใดๆซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เช่น ผู้จัดการมรดกนำทรัพย์มรดกใช้หนี้ของตัวเอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทายาท ตามมาตรา 1722 ประกอบมาตรา 1727
2.3 ผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเหตุแก่ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าจะให้เป็นลาภส่วนตัว โดยทายาทไม่ยินยอม เช่น ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกที่ทายาทไม่ยินยอมขาย โดยหวังค่าตอบตอนที่บุคคลภายนอกจะให้ ตามมาตรา 1724 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1727
2.4 ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ตัวเองแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันแก่ทายาท
2.5 ประกาศขายทรัพย์มรดกในราคาที่ต่ำเกินสมควร , หรือให้ผู้เช่าฟรีโดยไม่คิดค่าเช่า เป็นต้น
2.6 ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก หรือเหตุอื่นๆ เป็นต้น
ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 อันได้แก่ 1.ทายาทโดยธรรม 2.ผู้มีส่วนได้เสีย 3.พนักงานอัยการ ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง โดยยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกตามเหตุต่างๆ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งหากเจอปัญหาดังกล่าวแล้วต้องการร้องต่อศาล ให้สำนักงานกฎหมาย MKC Legal ดูแลคดีของคุณได้นะครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่