ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทายาทต้องรู้
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร
หลายคนคงจะได้ดูซีรีส์เรื่องสืบสันดานกันไปแล้วใช่ไหมครับ นอกจากปมเรื่องที่ใครเป็นคนฆ่าเจ้าสัว ก็มีพล็อตเรื่องที่อาจจะเหมือนละครหรือซีรีส์หลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการแบ่งมรดกของพี่น้องที่ไม่เคยลงตัวสักที ไม่ว่าใครก็ไม่พอใจกับส่วนแบ่งของตัวเอง วันนี้เราเลยขอหยิบยกเรื่องการแบ่งมรดกในกรณีที่แบ่งมรดกไม่ลงตัว แบบนี้ทายาทจะต้องทำอย่างไร ไปดูกันเลยครับ
แต่ก่อนอื่น ถ้าใครดูเรื่องสืบสันดานไปแล้ว ก็จะรู้ว่าเจ้าสัวที่เป็นพ่อได้ทำพินัยกรรมแบ่งทรัพย์มรดกไว้แล้วว่าอะไรจะให้ใครบ้าง ซึ่งถ้าอยากรู้ว่า แบ่งให้ใครและพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า ก็ต้องไปติดตามในเรื่องกันเองนะครับ ประเด็นที่ผมจะชี้ให้เห็นคือ ถ้าพินัยกรรมทำขึ้นถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง การแบ่งมรดกก็จะต้องเป็นไปตามที่พินัยกรรมเขียนไว้เท่านั้น ทายาทไม่มีสิทธิเถียงอะไรเลยว่า การแบ่งแบบนี้มันไม่ถูก ไม่เป็นธรรม ทำไมคนนั้นได้เยอะกว่า ทำไมเราได้น้อยกว่า เพราะการทำพินัยกรรมเป็นเจตนาหรือคำสั่งสุดท้ายของผู้ตายซึ่งกฎหมายเคารพตามเจตนานั้นเนื่องจากทรัพย์มรดกเป็นของผู้ตาย ผู้ตายจะยกให้ใคร กฎหมายก็ต้องเคารพการตัดสินใจนั้นเป็นอันดับแรก
แต่แน่นอน เรื่องที่เราจะคุยกันวันนี้จะต้องไม่มีการทำพินัยกรรมไว้ หรือมีการทำพินัยกรรมไว้ แต่ยังมีทรัพย์มรดกอื่น ๆ ที่ผู้ตายไม่ได้ใส่ไว้ในพินัยกรรมอยู่ ซึ่งกรณีนี้กฎหมายเปิดให้ทายาทสามารถตกลงแบ่งกันเองได้ ตราบใดที่สามารถตกลงกันได้อะนะครับ ถ้าตกลงกันได้ จะแบ่งกันยังไงก็ได้เลย โดยที่อาจจะได้ไม่เท่ากันก็ได้ ถ้าทุกคนตกลงตามนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายในการตกลงกันเองว่าจะแบ่งมรดกให้ใครยังไงบ้าง ถึงจะมีผู้จัดการมรดกแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าการแบ่งมรดกจะลงตัว พอแบ่งกันไม่ลงตัวแบบนี้ อาจจะมีทางออกคือ ต่างฝ่ายก็ต่างเสนออะไรบางอย่างเพื่อให้อีกฝ่ายยอมใช่ไหมครับ แต่ถ้าสุดท้ายมันแบ่งกันไม่ได้จริง ๆ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกก็มีทางเลือก 2 ทางเพื่อให้การแบ่งมรดกเสร็จสิ้น
กรณีนี้ก็ง่าย ๆ เลย ในเมื่อตกลงกันไม่ได้ ก็ให้แบ่งกันตามกฎหมายเลย ใครมีส่วนตามกฎหมายยังไง ก็ให้ได้ตามส่วนที่กฎหมายกำหนด เช่น ทายาทประเภทคู่สมรสที่กฎหมายกำหนดให้มีส่วนในมรดกเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 ถ้าทายาทที่เหลือคือพี่น้องพ่อแม่เดียวกันของเจ้ามดรก คู่สมรสก็จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งเลย ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ พี่น้องก็เอาไปหารเท่า ๆ กัน เป็นต้นครับ หรือถ้าทรัพย์มรดกแบ่งไม่ได้ หรือแบ่งแล้วจะเสียหาย ก็สามารถนำไปขายและนำเงินมาแบ่งกันก็ได้เช่นกัน
การฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก คือการฟ้องคดีเพื่อให้ผู้จัดการมรดกแบ่งมรดกให้ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะการที่ตกลงกันไม่ได้สักที ส่งผลให้ผู้จัดการมรดกก็ไม่สามารถแบ่งทรัพย์มรดกได้สักที ทายาทจึงสามารถฟ้องเพื่อให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้นั่นเอง ซึ่งแน่นอนในคดีมรดกแบบนี้ ศาลก็จะพยายามไกล่เกลี่ยให้ทายาทตกลงกันเองก่อน ซึ่งก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งในการที่ทายาทจะได้มาคุยกันอีกรอบ เพราะการคุยในศาลก็ทำให้หลายเคสของเราจบกันด้วยดีและง่ายมากขึ้นครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่