ภัยจากแอพเงินกู้นอกระบบ

แอพเงินกู้

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้น ทุกอย่างต่างพยายามให้ทุกคนได้กระทำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือมือถือ ไม่เว้นแม้แต่การกู้ยืมเงิน โดยการกู้ยืมเงินนั้นมีทั้งการกู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงินที่ได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและทั้งการกู้เงินผ่านแอพที่เป็นการกู้ยืมเงินนอกระบบในแอพกู้เงิน

แอพเงินกู้นอกระบบ

ซึ่งแอพกู้ยืมเงินนอกระบบนั้นเป็นแอพที่โหลดผ่านอย่างถูกต้องในระบบปฏิบัติการต่างๆมากมาย และทั้งมาทางSMSของผู้ใช้มือถือ ในการกู้เงินแบบนี้ผู้เขียนขอสรุปวิธีการต่างๆของแอพได้ดังนี้

  1. มีการโหลดแอพกู้เงินหรือเข้าไปยังเว็บไซด์ที่อ้างว่าปล่อยเงินกู้
  2. มีการกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของแอพหรือเว็บไซด์กู้เงินนั้น
  3. มีการให้กดยินยอมเข้าถึงข้อมูลในมือถือของผู้สมัคร
  4. ในการกู้ยืมเงินต้องมีการวางเงินค่าธรรมเนียมสมัครหรือบางรายจะเรียกว่าเงินค้ำประกันการกู้
  5. เมื่อได้รับเงินกู้จริงบางรายจะได้รับไม่เต็ม จะอ้างว่ามีการหักค่าธรรมเนียมการกู้ต่างๆ
  6. ในการทวงหนี้เงินกู้จะใช้วิธีขมขู่ผู้กู้หรือบุคคลที่มีเบอร์ในระบบมือถือของผู้กู้เพื่อให้ชำระและอาจลามไปถึงที่ทำงานของผู้กู้
ขั้นตอนการกู้เงิน

โดยจาก 6 ข้อที่กล่าวนี้ทางเราจึงขอแนะนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสิ่งที่ผู้อ่านได้นำไปใช้เป็นสิ่งป้องกันตัวเองได้ต่อไปนี้
1. ในการกู้ยืมเงินนั้นแม้ในปัจจุบันการลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตจะถือเป็นหลักฐานเป็นหนังสือในการที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ แต่การกู้ยืมเงินนั้นจะสมบูรณ์เป็นการกู้ยืมได้นั้น ผู้กู้ต้องได้รับเงินกู้นั้น และจะรับผิดไม่เกินกว่าเงินที่ตนได้รับเท่านั้น การอ้างว่าเป็นการหักค่าธรรมเนียมต่างๆหากเราไม่ยินยอมแล้ว ย่อมอาจต้องรับผิดเพียงเงินที่ผู้กู้รับไปเท่านั้น
ฉะนั้น เบื้องต้นผู้กู้สามารถอ้างได้ว่าตนรับผิดไม่เกินกว่าเงินที่ตนรับไปได้ โดยเตรียมหลักฐานการรับโอนเงินจากผู้ให้กู้และบทความสนทนากับผู้ให้กู้ในช่วงตอนรับเงินแสดงได้
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640)
2. หากในการกู้ยืมเงินผ่านแอพเงินกู้แล้ว ผู้กู้ได้จ่ายเงินไปหรือวางเงินที่ถูกอ้างว่าเป็นเงินค้ำประกันเงินกู้แล้ว ต่อมาไม่ได้รับเงินโดยไม่สามารถติดต่อได้ ย่อมอาจถือได้ว่าผู้ที่จะกู้ถูกหลอกลวงอันเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงได้ และในลักษณะนี้เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน
ผู้กู้ควรจะดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่มีชื่อในการรับโอนเงิน โดยลักษณะนี้ควรจะนำคดีไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากพนักงานสอบสวนหรือตำรวจมีวิธีการที่นำไปสู่คนร้ายได้รวดเร็วกว่าการนำคดีไปฟ้องศาล โดยหลักฐานที่นำไปแจ้งความร้องทุกข์คือ บทความสนทนากับแอพกู้เงินนอกระบบนี้ และภาพถ่ายหน้าจอแอพกู้เงินนอกระบบพวกนี้ไปแสดงเบื้องต้น
(ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และ 343)
3. ในการกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายกำหนดดอกเบี้ยไว้ไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าคำนวณเป็นรายเดือนไม่เกินร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เช่นนี้แล้วหากผู้ให้กู้หรือแอพกู้เงินนอกระบบนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่านี้ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับผู้กู้ได้
ผู้กู้ย่อมชำระเพียงแต่เงินต้นที่ผู้กู้รับไปเท่านั้น แต่ส่วนเงินที่ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้แล้ว ผู้กู้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนได้เนื่องจากผู้กู้ได้ชำระหนี้โดยฝ่าฝืนกฎหมาย(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 และ 411) แต่ผู้ให้กู้ก็ไม่มีสิทธิรับเงินนั้นไว้ในฐานะเป็นดอกเบี้ยเนื่องจากดอกเบี้ยที่เกินอัตราตามกฎหมายนั้นเป็นโมฆะ ต้องนำเงินดังกล่าวไปหักกับต้นเงินที่ผู้กู้ได้กู้ไป(ตามแนวฎีกาที่5376/2560)
เช่นนี้ ผู้กู้ควรจะนำหลักฐานการสนทนากับแอพกู้เงินเพื่อยืนยันกว่าถูกผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยแสดง เพื่อจะได้นำเงินที่ผู้กู้จ่ายไปหักกับเงินต้นที่กู้กับแอพกู้เงิน
4 ในการทวงหนี้ของแอพกู้เงิน ทางเราอยากแนะนำถึงการทวงหนี้ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติทวงหนี้ฯ โดยสรุปได้ว่า ผู้ให้กู้ต้องทวงหนี้กับผู้กู้หรือบุคคลที่ผู้กู้กำหนด โดยทวงได้วันละครั้ง และในการทวงหนี้หรือการติดต่อทางโทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น. และในวันหยุดราชการให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. หากโดนทวงหนี้เกินกว่านี้ ควรจะนำคดีไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต่อไป


นี่คือข้อกฎหมายที่นำไปใช้ในการดำเนินการกับพวกแอพกู้เงินนอกระบบพวกนี้ต่อไป และหากมีปัญหาใดๆทางเราพร้อมดูแลโดยทนายที่มีประสบการณ์ต่อไป โปรดติดต่อทางเว็บไซด์นี้ หรือทางไลน์ @mkclegal หรือทุกช่องทางในนาม MKC Legal Group
ขอบคุณที่ติดตาม หากบทความนี้มีประโยชน์โปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด