คดีมรดก หน้า 3
บทความคดีมรดก ทีมทนายของเราหยิบหัวข้อที่น่าสนใจมาวิเคราะห์ในเชิงกฎหมายไว้ให้อ่านกัน
21
อยู่กินฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีสิทธิมรดกอย่างไรบ้าง
สามีภรรยาเป็นสถานอย่างหนึ่งซึ่งหากจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็จะมีกฎหมายเข้ามารับรองให้มีสิทธิในฐานะสามีภรรยาตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ แต่หลายคนอาจจะมองว่า การเป็นสามีภรรยาไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกันก็ได้ แค่อยู่กินกันก็เรียกว่าเป็นสามีภรรยากันแล้ว โดยวันนี้ผมจะมาเล่าผลของกฎหมายในเรื่องมรดกสำหรับคู่ที่อยู่กินฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสว่าจะมีสิทธิในการรับมรดกกันหรือเปล่า
22
ทายาทต้องรู้ แบ่งมรดกตามกฎหมายมรดก แบ่งอย่างไร??
ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ การแบ่งมรดกจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม แต่หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย คราวนี้จะแบ่งอย่างไรดี
23
พินัยกรรม ทำหลายฉบับได้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร
พินัยกรรมเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้ามรดกทำขึ้นเพื่อแสดงเจตนาก่อนตายว่าจะให้ทรัพย์สินของตนกับใคร เมื่อเป็นเอกสารสำคัญก็ควรจะมีแค่แผ่นเดียวใช่หรือไม่ จะทำไว้หลาย ๆ ฉบับได้หรือเปล่าเพราะบางทีอาจจะลืมว่ามีทรัพย์ที่ไม่ได้ใส่ไว้ในพินัยกรรม ผมเชื่อว่าหลายคนก็สงสัยใช่ไหมครับ งั้นเราไปดูกันเลยดีกว่าว่า เราจะทำพินัยกรรมหลายฉบับได้หรือไม่
24
ทายาทรับสภาพหนี้มรดก มีผลเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของบุคคลนั้นก็จะตกทอดแก่ทายาท ซึ่งมรดกที่ว่าไม่ได้มีแต่ทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้สินของคนที่ตายด้วยที่ทายาทจะต้องรับช่วงต่อไป เจ้าหนี้หลายคนก็กลัวว่าทายาทที่รับหนี้ไปจะไม่ยอมใช้หนี้ เลยจับทายาทเซ็นหนังสือรับสภาพหนี้เลย ทำเอาหลายคนสงสัยว่า การที่ทายาทรับสภาพหนี้ไปแบบนี้ทำให้ทายาทกลายเป็นลูกหนี้แทนคนที่ตายไปหรือเปล่า ต้องรับผิดเต็มจำนวนหนี้หรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยครับ
25
ผู้จัดการมรดกต้องแบ่งมรดกภายในกี่ปี
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก หน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว โดยผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1732 บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
26
คนต่างชาติทำพินัยกรรมในประเทศไทยได้หรือไม่และมีผลแค่ไหน
ถ้าคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นเข้ามาทำงานหรือแต่งงานกับคนไทยก็ดี และมีทรัพย์สินในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นคอนโด รถยนต์ เงินในบัญชีธนาคารของประเทศไทย เป็นต้น ยิ่งถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในไทย ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ และถ้ายิ่งคุณแต่งงานกับคนไทยด้วยแล้ว คุณควรจะร่างพินัยกรรมไว้เพื่อจัดการทรัพย์สินให้แก่ทายาท
27
คัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ในกรณีเจ้ามรดกทำพินัยกรรม และมีการระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องจัดการมรดก หรือในกรณีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย เช่น สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ,เจ้าของร่วมในทรัพย์สิน , ผู้ปกครองผู้เยาว์ที่เป็นทายาท ,ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทที่เป็นผู้เยาว์ ,ผู้สืบสิทธิหรือทายาทรับมรดกแทนที่ ,ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม,เจ้าหนี้(เฉพาะที่ไม่มีทายาทหรือผู้รับพินัยกรรม) ,ทายาทของคู่สมรส,ผู้จัดการมรดกของเจ้าของร่วม,ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตามคำสั่งศาลของทายาทหรือของผู้ตายเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องจัดการมรดกต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ก่อนตาย ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล
28
การรับมรดกแทนที่ คืออะไร
โดยปกติการรับมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ลำดับในการรับก็จะเป็นไปตามที่กฎหมายมรดกกำหนดไว้ครับ ใครที่ไม่ใช่ทายาทตามกฎหมายก็จะไม่มีสิทธิรับมรดกเลย แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นถ้าทายาทในชั้นที่มีสิทธิรับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก ทายาทที่ตายจะหมดสิทธิ์ในมรดกเลยหรือเปล่า ถ้าทายาทที่ตายมีลูกล่ะ ลูกของทายาทที่ตายจะสามารถเข้ามารับมรดกในส่วนนั้นได้หรือไม่ เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ
29
เหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง
เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ทำให้ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่ ตามปพพ.มาตรา 1719 คือ มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายตามพินัยกรรม และเพื่อจัดการทรัพย์มรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก หากมรดกไม่ได้รับการแบ่งสู่ทายาท เหตุใดบ้างที่สามารถเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้บ้าง แล้วใครเป็นผู้ร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
30
ฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก มีอายุความอย่างไรบ้าง
เมื่อมีเหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดกตามที่กฎหมายกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก โดยผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกเสียก่อนที่การปันมรดกจะเสร็จสิ้น