ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#เจ้าของที่ดินต้องรู้!!
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
ผูกพันเจ้าของที่ดินแค่ไหน
สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจจะเคยได้ยิน แต่ไม่ได้รู้จริงๆ ว่าสิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร ซึ่งผมขอบอกเลยว่าสิทธิเหนือพื้นดินนี้ เจ้าของที่ดินควรที่จะต้องรู้จักเอาไว้เลยครับเพราะเป็นสิทธิที่ทำให้คนอื่นเข้ามามีสิทธิบางอย่างบนที่ดินของเราได้ เพราะฉะนั้น เราไปดูกันเลยครับว่าสิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
สิทธิเหนือพื้นดิน คือ สิทธิในการเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบน
ที่ดินของคนอื่นซึ่งรวมถึงใต้ดินของที่ดินนั้นด้วยครับ ซึ่งกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเหนือพื้นดินไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 ว่า เจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่บุคคลอื่น โดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูก บนดินหรือใต้ดินนั้น คือเจ้าของที่ดินจะต้องให้สิทธิเราก่อนนะครับ เราถึงจะมีสิทธิเหนือพื้นดินได้
ที่บอกว่าเจ้าของจะต้องให้สิทธิก่อน แล้ววิธีการให้สิทธิจะทำได้ยังไงบ้างล่ะ เราต้องรู้กัน
ก่อนว่าสิทธิเหนือพื้นดินนั้นเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งโดยหลักแล้วการได้ทรัพยสิทธิที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือพวกที่ดินทั้งหลายนั้น ถ้าเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการให้หรือซื้อมา จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ถึงจะบริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิได้ครับ
การได้สิทธิเหนือพื้นดินจะต้องได้มาโดยทางนิติกรรม ซึ่งตามกฎหมายจะต้องมีการตกลงทำเป็นหนังสือสัญญา จากนั้นก็นำหนังสือสัญญาดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็จะเป็นทรัพยสิทธิโดยบริบูรณ์ มีให้เห็นในทะเบียนว่า เรามีสิทธิเหนือพื้นดินบนที่ดินนั้น ๆ อยู่ ซึ่งสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ทุกคนเลยครับ
แต่ถ้าไม่ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนล่ะ สิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็จะไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิครับ สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะบริบูรณ์เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่เราไม่สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้เลย ใช้ยันได้แค่กับเจ้าของที่ดินที่ให้สิทธิเหนือพื้นดินกับเราเท่านั้นครับ หากเจ้าของที่ดินขายที่ไป เท่ากับเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว เราจะไปอ้างว่าเรามีสิทธิเหนือพื้นดินกับเจ้าของคนใหม่ไม่ได้นั่นเองครับ
สิทธิเหนือพื้นดินนั้นกฎหมายเปิดให้คู่กรณีสามารถกำหนดเวลาได้ว่าจะให้คนอื่นมีสิทธิเหนือพื้นดินบนที่ดินของตนได้ในระยะเวลาเท่าไหร่ก็ได้ครับ แต่ห้ามเกิน 30 ปี ถ้าเกิน กฎหมายก็ให้ลดลงมาเหลือ 30 ปีครับ หรือง่ายๆ จะตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินก็ได้
แต่ถ้าสิทธิเหนือพื้นดินไม่ได้มีการกำหนดเวลากันไว้ คู่กรณีแต่ละฝ่ายจะบอกเลิกกันตอนไหนก็ได้ แต่ต้องบอกล่วงหน้าให้อีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรก่อนครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่