ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง
เจ้าหน้าที่หลอกว่าจะวิ่งเต้นคดีให้
ผู้เสียหายเชื่อจึงให้เงินไป
ผู้เสียหายถือว่ามีส่วนร่วมในการทำผิดหรือไม่?
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวกับการแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้อีกฝ่ายหลงเชื่อว่าทำได้จริง ซึ่งเป็นการเรียก รับ หรือยอมรับเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน ว่าในกรณีแบบนี้และเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลจะตัดสินอย่างไรครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นางเอฟ้องขอให้ลงโทษนายหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาว่า นายหนึ่งมีความผิด นายหนึ่งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
นายหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติ โดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาว่า นางเอกับนายหนึ่งเป็นญาติกัน นายหนึ่งเคยประกอบอาชีพเป็นทนายความ นางเอตกลงให้นายหนึ่งติดต่อทำเรื่องขอทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายบีสามีนางเอ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต โดยตกลงกันในราคา 250,000 บาท แต่หลังจากนางเอมอบเงินให้นายหนึ่งไปแล้ว นายบีก็ยังไม่ได้ออกจากเรือนจำ
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาประการแรกว่า นางเอมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า พยานหลักฐานนางเอฟังได้ว่า นายหนึ่งเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากนางเอเพื่อเป็นการตอบแทนในการไปวิ่งเต้นให้สามีนางเอได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังจากมอบเงินให้นายหนึ่ง นายหนึ่งไม่สามารถดำเนินการให้สามีนางเอได้รับพระราชทานอภัยโทษได้ เมื่อนางเอทวงถามนายหนึ่งก็บ่ายเบี่ยงและไม่ยอมคืนเงินให้ แสดงว่านายหนึ่งไม่มีเจตนาที่จะวิ่งเต้นให้สามีนายเอได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงนางเอ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า นางเอได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้ได้ และถือไม่ได้ว่านางเอมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดจากการหลอกลวงนั้น นางเอจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาประการต่อมา นายหนึ่งกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ ซึ่่งพยานในคดีเบิกความทำนองเดียวกันว่า นายหนึ่งบอกนางเอว่า นายหนึ่งรู้จักคนที่สามารถวิ่งเต้นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้นายบีได้รับพระราชทานอภัยโทษได้และนายหนึ่งเรียกเงินจากนางเอจำนวน 250,000 บาท ไป พยานทั้งสามปากเบิกความถึงเหตุการณ์เดียวกันสอดคล้องต้องกัน ข้ออ้างของนายหนึ่งที่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ดำเนินการให้ฯ จึงไม่น่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังหักล้างพยานนางเอได้ พยานหลักฐานของนางเอรับฟังได้หนักแน่นว่านายหนึ่ง เรียกเงินจากนางเอเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นางเอ การกระทำของนายหนึ่งจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
จะเห็นได้ว่า ความผิดเกิดจากอีกฝ่ายหลอกให้เชื่อว่า สามารถวิ่งเต้นเพื่อทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอรับพระราชทานอภัยโทษได้ แต่จริงๆแล้วทำไม่ได้ ประกอบกับมาตรา 143 ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้จะต่อสู้ว่าไม่ได้รับเงิน แต่การกระทำดังกล่าวจะไม่มีเหตุจูงใจให้กระทำเลยก็ไม่ใช่ และเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ และสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือจะต่อสู้ว่าอีกฝ่ายไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลก็พิจารณาตามข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย ว่ากรณีดังกล่าวมีความผิดอย่างไรนั้นเอง
(อ้างอิง : ฏ.1666/2562)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่