ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
การยึดทรัพย์ตามกฎหมายฟอกเงิน คืออะไร?
หากถูกยึดแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง?
ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าข่าวเกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ แก็งหลอกลวง คดีแชร์ลูกโซ่ หรือคดียาเสพติดเป็นคดีที่เรียกได้ว่า ทำเงินให้กับผู้กระทำความผิดได้สูง แล้วการที่ผู้กระทำความผิดได้เงินมาเยอะๆ จะไม่ถูกสงสัยหรอ แน่นอนว่าถ้าเก็บไว้กับตัวก็ต้องถูกสงสัยอยู่แล้ว จึงมีวิธีการหนึ่งที่ผู้กระทำความผิดพวกใช้นั่นก็คือการ “ฟอกเงิน” นั่นเองครับ
การฟอกเงิน คือ การทำให้เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดความผิดมูลฐานใน 28 ฐานความผิด เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ค้ามนุษย์ การพนันออนไลน์ ฉ้อโกงประชาชน แชร์ลูกโซ่ หรือการก่อการร้าย ไปเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นที่ถูกกฎหมายแทน เช่น ได้มาทรัพย์สินมาก็เอาไปขาย หรือเปิดธุรกิจและนำเงินไปหมุนในกิจการนั้น หรืออาจจะนำเงินไปเปลี่ยนเป็นทรัพย์มา เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือซื้ออาคาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ถูกตรวจสอบได้ยากครับ
หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่า มีทรัพย์สินที่น่าจะเกี่ยวกับการฟอกเงิน คณะกรรมการธุรกรรมสามารถมีมติให้ยึดหรืออายัดทรัพย์นั้นทั้งหมดได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 34 (3) และมาตรา 48 ที่กำหนดให้ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าได้มีการฟอกเงิน คณะกรรมการธุรกรรมสามารถมีมติให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องไว้ได้ชั่วคราวไม่เกิน 90 วันนับตั้งแต่วันที่มีมติได้
ถ้าสอบสวนไปแล้วมีหลักฐานชัดว่า ทรัพย์สินที่ยึดมาเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการฟอกเงินหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินก็จะส่งเรื่องให้อัยการเพื่อให้อัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ครับ
ในกรณีที่ถูกยึดทรัพย์ไปเพราะเจ้าพนักงานเห็นว่าทรัพย์นั้นเกี่ยวกับการฟอกเงิน ก็มีวิธีแก้ไขอยู่ครับ โดยผมจะแยกเป็น 2 กรณี
ในคำสั่งยึดหรืออายัดส่วนใหญ่ก็จะระบุทางแก้ให้เจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นคำร้องต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมด้วยหลักฐานที่แสดงว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการฟอกเงินก็ได้ ซึ่งก็จะมีกำหนดในคำสั่งว่าให้ยื่นได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่
กรณีนี้จะอยู่ในขั้นตอนที่อัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์ที่ถูกยึดตกเป็นของแผ่นดิน เจ้าของทรัพย์สินสามารถยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้โดยอ้างเหตุได้ 2 เหตุ คือ
2.1 ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด หรือ
2.2 ตนเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควร ในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ
อ้างเหตุแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับและถ้าศาลเห็นว่าทรัพย์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ศาลก็จะมีคำสั่งคืนทรัพย์สินนั้นให้นั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่