ประมาทร่วม เรียกค่าสินไหมทดแทน จากคู่กรณีได้หรือไม่ เพียงใด

ถ้าต่างฝ่ายต่างประมาท
แล้วฝ่ายไหนจะเรียกร้องค่าเสียหายจากความประมาทนั้นได้ ?

ประมาทร่วม เรียกค่าสินไหมทดแทน จากคู่กรณีได้หรือไม่ เพียงใด

            ประมาทร่วม ไม่มีในข้อกฎหมาย ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท แต่หากความประมาทเกิดจากทั้งสองฝ่าย จึงมักเรียกให้เข้าใจง่ายว่า “ประมาทร่วม” ซึ่งหมายถึง ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่หยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากจะถามหาความรับผิดชอบจากอีกฝ่าย ก็ต้องพิจารณาว่า ฝ่ายใดประมาทมากกว่ากัน

           หากมีฝ่ายใดประมาทมากกว่ากัน อีกฝ่ายสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
           อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์อันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
           ประมาทร่วม เช่น อุบัติเหตุทางรถ , ในทางการที่จ้าง , หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน เป็นต้น 

กรณีประมาทร่วม และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี ได้

           หากตกลงกันไม่ได้มีการฟ้องศาล หากฝ่ายใดประมาทมากกว่ากัน ศาลอาจสั่งให้ฝ่ายที่ประมาทมากกว่า ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่ายตามสมควร

          เช่น ตามฎีกาที่ 4712/2539 เป็นความเสียหายอันหนึ่งอันเดียวกันอันจะแบ่งมิได้,ละเมิด, เรียกค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนายหนึ่ง และผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างของนายสอง กระทำต่อนายแสง ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันถึงแม้นายหนึ่งและผู้ตายจะต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตามแต่เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของนายหนึ่งและผู้ตายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันดังกล่าวแล้ว นายหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดกับนายสองร่วมกันชำระค่าเสียหายจำนวน 359,100 บาท ต่อนายแสงอย่างลูกหนี้ร่วม

กรณีประมาทร่วม และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี ไม่ได้

             หากตกลงกันไม่ได้มีการฟ้องศาล และศาลมองว่าประมาทเท่ากัน = ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย ,ไม่สมควรได้รับค่าสินไหมทดแทน ,ค่าเสียหายเป็นพับ

            เช่น ตามฎีกาที่ 2324/2523 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทด้วยศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฝ่ายละครึ่งอันแสดงว่ามีส่วนประมาทเท่ากันนั้น ไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา เมื่อประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และรถจำเลยที่ 2 เสียหายน้อยกว่ารถโจทก์ที่ 1 มาก เฉลี่ยแล้วจำเลยที่ 2 ย่อมไม่สมควรจะได้ค่าสินไหมทดแทนตามฟ้องแย้งจากโจทก์ที่ 1 อีก

             ฉะนั้นแล้ว หากข้อเท็จจริงที่เกิด เป็นประมาทร่วม หากตกลงกันไม่ได้และต้องการฟ้องศาล แล้วสงสัยว่าสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เพียงใด แนะนำให้นำข้อเท็จจริงมาปรึกษาทนายก่อน ว่าจะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง หากต้องการให้ว่าจ้างหรือสู้คดี ให้ทางสำนักงาน MKC LEGAL ดูแลคดีของคุณได้ครับ

Info - ประมาทร่วม เรียกค่าสินไหมทดแทน จากคู่กรณีได้หรือไม่ เพียงใด

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด