ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้วางมัดจำผิดสัญญา ขอมัดจำคืนได้หรือไม่?
ถ้าไม่ได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 กำหนดว่า ..
ในการทำสัญญาส่วนใหญ่ แน่นอนว่าคู่สัญญาต้องการหลักประกันบางอย่างมายืนยันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาที่ทำกันไว้จริงๆ ซึ่งหลักประกันที่ง่ายที่สุดที่หลายคนพอจะนึกออกก็คือ การวางมัดจำ ถ้าผู้ที่วางมัดจำผิดสัญญา อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญสำนึกก็ต้องเข้าใจว่าผู้รับมัดจำก็สามารถริบมัดจำได้ แล้วจะมีวิธีไหนหรือเปล่าที่ผู้มัดจำผิดสัญญา แล้วสามารถขอคืนมัดจำได้ เราไปดูกันเลยครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมัดจำกันก่อนดีกว่าว่า มัดจำ คือ สิ่งที่ให้ไว้ในวันทำสัญญาและคู่สัญญาถือว่าสิ่งนั้นเป็นมัดจำ ซึ่งข้อสำคัญของการวางมัดจำคือจะต้องวางในวันที่ทำสัญญา ถ้าไม่ได้วางในวันทำสัญญา สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัดจำตามกฎหมายครับ โดยการวางมัดจำนี้ถือเป็นหลักฐานด้วยว่ามีการทำสัญญากันแล้ว รวมถึงเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาด้วยครับ
พอเป็นมัดจำตามกฎหมายแล้ว กฎหมายก็มีการจัดการกับมัดจำเอาไว้ด้วย ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดเรื่องการจัดการกับมัดจำไว้เลย ก็ให้จัดการมัดจำตามนี้ครับ
1 ให้ส่งคืน หรือให้เป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้ หรือก็คือหักกับหนี้ที่ต้องชำระนั่นเอง
2 ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายวางมัดจำต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายวางมัดจำ
3 ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายรับมัดจำต้องรับผิดชอบ
การจัดการกับมัดจำข้างต้นเป็นวิธีการจัดการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งกฎหมายก็เปิดให้คู่สัญญาสามารถตกลงเรื่องมัดจำเป็นอย่างอื่นนอกจาก 3 กรณีข้างต้นได้ครับ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องทำตาม 3 กรณีนี้เท่านั้น ดังนั้น คู่สัญญาจะกำหนดให้
ยกตัวอย่างสัญญาที่ใกล้ตัวเช่น สัญญาเช่าบ้านหรือห้องพักรายปี ที่ผู้เช่าจะต้องมีการวางมัดจำไว้เพื่อเป็นประกันกับผู้ให้เช่าว่าจะเช่าครบตามเวลา แต่ถ้ายังไม่ครบกำหนดที่เช่ากัน แล้วผู้เช่าไม่อยากเช่าต่อแล้ว แบบนี้เป็นกรณีที่ฝ่ายผู้เช่าหรือผู้วางมัดจำผิดสัญญา ถเาไม่ได้กำหนดในสัญญาเป็นอย่างอื่น ฝ่ายผู้ให้เช่าหรือผู้รับมัดจำมีสิทธิริบมัดจำได้ครับ โดยฝ่ายวางมัดจำจะไปขอคืนไม่ได้เลย
แต่ถ้าเกิดมีการกำหนดในสัญญาเอาไว้ว่า แม้ผู้วางมัดจำจะผิดสัญญาหรือมีการเลิกสัญญาเพราะฝ่ายที่วางมัดจำ ก็ให้ผู้วางมัดจำมีสิทธิขอคืนมัดจำได้ แบบนี้เป็นการตกลงเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากกฎหมาย กฎหมายก็ให้บังคับหรือจัดการไปตามที่ตกลงครับ ก็คือ ผู้วางมัดจำก็จะขอคืนมัดจำได้นั่นเอง
แต่ก็ต้องทิ้งท้ายไว้เล็กน้อยครับว่า โดยปกติส่วนใหญ่ก็จะไม่มีการตกลงให้ผู้วางมัดจำที่ผิดสัญญาสามารถขอคืนมัดจำได้ครับ เพราะไม่งั้นฝ่ายที่รับมัดจำก็จะไม่มีอะไรมาประกันการปฏิบัติตามสัญญาเลย เอาง่ายๆ ก็คือเป็นการตกลงที่ฝ่ายผู้รับมัดจำเสียเปรียบนั่นเองครับ
สำหรับใครที่กลัวว่าสัญญาที่กำลังจะทำ ฝ่ายเราเสียเปรียบหรือเปล่า เราก็มีบริการตรวจสอบสัญญาที่จะช่วยตรวจสอบว่าสัญญาเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เนื้อหาในสัญญาครอบคลุมแล้วหรือยัง และมีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบกันหรือไม่ ติดต่อเราเข้ามาได้เลยครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่