ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
จดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศ
หย่าในไทยได้หรือไม่?
ในปัจจุบัน คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติมีอยู่ไม่น้อยเลยครับ มีทั้งจดทะเบียนสมรสที่ไทยและต่างประเทศ แต่ก็มีคนสงสัยว่า ถ้าจดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศ แล้วเกิดปัญหาจนต้องหย่ากัน จะต้องหย่าในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้นหรือเปล่า จะสามารถมาหย่าหรือฟ้องหย่าที่ประเทศไทยได้หรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันครับ
ต้องบอกก่อนว่า การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ว่าจะเป็นคนไทยจดกับคนต่างชาติหรือคนไทยด้วยกัน จะจดในไทยหรือต่างประเทศก็ได้ ไม่ได้มีกฎหมายห้ามไว้ ซึ่งการจดทะเบียนสมรสจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทำให้ถูกต้องตามแบบที่ประเทศที่จดทะเบียนกำหนดไว้หรือทำตามขั้นตอนของประเทศนั้นๆ หรือจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายไทยก็ได้ แต่ถ้าจะจดตามกฎหมายไทย จะต้องไปจดที่สถานทูตหรือกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ ครับ
ยังไงก็ตาม การจดทะเบียนสมรสต่างประเทศจะยังไม่มีสถานะเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายไทยนะครับ จะต้องมีการบันทึกการสมรสนั้นในไทยก่อน โดยนำทะเบียนสมรสไปแปลเป็นภาษาไทยและรับรองตามขั้นตอนเพื่อนำมาใช้ในการบันทึกทางทะเบียน จากนั้นจึงจะมีสถานะเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายไทยครับ
สำหรับการจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศที่มีการบันทึกการสมรสในไทยแล้ว เท่ากับคู่สมรสมีสถานะเป็นคู่สามีภรรยาตามกฎหมายไทย เพราะฉะนั้น จึงสามารถหย่าตามกฎหมายไทยได้ครับ ซึ่งในการหย่าก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การหย่าโดยความยินยอม กับ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
1. การหย่าโดยความยินยอม
เมื่อคู่สามีภรรยามีสถานะตามกฎหมายไทยจากการบันทึกการสมรสแล้ว ก็สามารถหย่าโดยความยินยอมด้วยการจดทะเบียนหย่าได้ครับ คือ ไปจดทะเบียนหย่าต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอเหมือนการหย่าตามปกติครับ
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลก็คือ การยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยา ซึ่งถ้ามีการจดทะเบียนสมรสต่างประเทศและคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ ก็จะต้องดูว่า กฎหมายสัญชาติของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้หรือไม่ ถ้ายอมให้หย่าได้ ศาลไทยก็พิพากษาให้หย่าได้ครับ ส่วนถ้าฟ้องหย่าที่ไทย เหตุในการฟ้องหย่าให้ใช้ตามกฎหมายไทยครับ
ประเด็นหลัก ๆ ของเราในวันนี้ก็คือกรณีที่จดทะเบียนสมรสต่างประเทศ ยังไม่ต้องไปดูว่าคู่สมรสเป็นคนไทยทั้งสองฝ่ายหรือคนไทยกับต่างชาติ ถ้าจะหย่ากันที่ไทย ก็จะต้องมีการบันทึกการสมรสหรือก็คือให้นายทะเบียนของไทยรับรองการสมรสที่ต่างประเทศนั้นก่อน ถึงจะมีสถานะเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายไทย จากนั้นจึงจะหย่ากันในไทยได้ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่