คดีแพ่ง 10

รวมบทความ บทวิเคราะห์กฎหมาย และความรู้เกี่ยวกับคดีแพ่งที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อเป็นความรู้ติดตัว หรืออ่านเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของท่านทั้งหลาย

91

คดีแพ่งหมดอายุความ ฟ้องได้ไหม และจำเลยต้องทำอย่างไร

แน่นอนว่า หากใครโดนกระทบสิทธิในทางแพ่ง การฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลก็อาจจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเบาเทาความเสียหายที่จะได้รับได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการใช้สิทธิทางศาลจะใช้ตอนไหนก็ได้นะครับ เพราะกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความเอาไว้ แล้วถ้าคดีหมดอายุความไปแล้วล่ะ จะฟ้องได้ไหม ถ้าฟ้องมาแล้ว จำเลยจะต้องทำอย่างไร วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ

92

กรณีใดที่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด

ทุกวันนี้ เวลาทำธุรกรรมใดๆเช่น ซื้อบ้าน รถยนต์ ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก หากผู้ซื้อจ่ายครบจบในวันทำสัญญาก็จะได้กรรมสิทธิ์มาได้เลย หรือหากผู้ซื้อวางเงินก้อนครบตามหลักเกณฑ์และประสงค์ผ่อนต่อก็จบลงที่มีคู่สัญญาสองฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขาย แต่หากผู้ซื้อไม่จ่ายทั้งหมดหรือวางเงินก้อนครบหลักเกณฑ์ ทางผู้ขายจะแนะนำให้ผู้ซื้อหาคนค้ำประกันเข้ามาประกันหนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากลูกหนี้ผิดไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ต่อให้แก่เจ้าหนี้นั่นเอง เห็นแบบนี้แล้วคิดจะค้ำใครศึกษาสัญญาค้ำประกันก่อนดีกว่า

93

ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร

การจำนอง คือ การเอาอสังหาริมทรัพย์ของตนไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง เมื่อมีการจดทะเบียนกันแล้ว ทำให้ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ คือ มีสิทธิในการบังคับจำนองจากทรัพย์สินที่จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นของลูกหนี้ หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ แล้วเจ้าหนี้ใช้สิทธิทางศาล เมื่อศาลพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดีแล้ว เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนองได้นั่นเอง

94

คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นแล้ว หากไม่ใช่การประมาทร่วม ฝ่ายที่ถูกย่อมเรียกให้ฝ่ายที่ผิดรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น หรือหากทรัพย์สินเสียหาย หรือเกิดผลอย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคือ ต้องรับผิดชอบความผิดในทางอาญา หรือทางแพ่ง ตามเหตุที่เกิดขึ้น

95

ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร

ภาระจำยอม คือ เจ้าของที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งต้องยอมรับภาระบางอย่าง เพื่อประโยชน์ของที่ดินแปลงอื่น การได้ภาระจำยอม มี 3 วิธี จะเห็นได้ว่า การได้มาซึ่งภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าที่ แต่หากไม่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมผลเป็นอย่างไร