ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
มีรับ ก็มีเลิก
เปิดข้อกฎหมายเหตุยกเลิกบุตรบุญธรรม มีอะไรบ้าง
บุตรบุญธรรม หมายถึง บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรของตนถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิในมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม และถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พ่อหรือแม่บุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมนั่นเอง
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว การยกเลิกรับบุตรบุญธรรมก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่การยกเลิกบุตรบุญธรรม ทำอย่างไรได้บ้าง มาดูพร้อมกันเลยครับ
1.ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ เลิกกันโดยความสมัครใจ ตามปพพ.มาตรา 1598/1
2.ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ เลิกรับบุตรได้เมื่อศาลมีคำสั่ง ตามปพพ. มาตรา 1598/1 วรรคสองถึงวรรค 4
3.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรส ตามปพพ.มาตรา 1598/32
4.บุคคลใดที่สามารถฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ตามเหตุดังต่อไปนี้ ตามปพพ.มาตรา 1598/33
4.1 ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
4.2 ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
4.3 ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
4.4 ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
4.5 ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
4.6 ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
4.7 ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือมาตรา 1575 เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
4.8 ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
หากต้องมีการฟ้องร้องกัน ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้น หรือเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
ฉะนั้นแล้ว ถ้าเหตุใดสามารถตกลงกันได้ สามารถไปจดทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรมกันเองได้ แต่หากมีคดีฟ้องร้องกันขึ้นมาจากเหตุใดเหตุหนึ่งตามข้างต้น แล้วต้องการร้องศาลหรือสู้คดี ให้สำนักงานกฎหมาย MKC LEGAL ดูแลคดีของคุณได้ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่