ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด
มีเหตุใดบ้างที่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดในสัญญาค้ำประกันได้
ทุกวันนี้ เวลาทำธุรกรรมใดๆเช่น ซื้อบ้าน รถยนต์ ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก หากผู้ซื้อจ่ายครบจบในวันทำสัญญาก็จะได้กรรมสิทธิ์มาได้เลย หรือหากผู้ซื้อวางเงินก้อนครบตามหลักเกณฑ์และประสงค์ผ่อนต่อก็จบลงที่มีคู่สัญญาสองฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขาย แต่หากผู้ซื้อไม่จ่ายทั้งหมดหรือวางเงินก้อนครบหลักเกณฑ์ ทางผู้ขายจะแนะนำให้ผู้ซื้อหาคนค้ำประกันเข้ามาประกันหนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากลูกหนี้ผิดไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ต่อให้แก่เจ้าหนี้นั่นเอง เห็นแบบนี้แล้วคิดจะค้ำใครศึกษาสัญญาค้ำประกันก่อนดีกว่า
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 กฎหมายค้ำประกันที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20 มีผลบังคับแล้ว โดยผู้ค้ำประกันสามารถจำกัดวงเงินสูงสุดและระยะเวลาในการค้ำประกันได้ คือ การจำกัดความรับผิดในสัญญา ซึ่งผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม ไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ย รวมทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้จะต้องทำหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันให้ทราบก่อนภายใน 60 วัน และห้ามไม่ให้เจ้าหนี้เรียกเอาหนี้กับผู้ค้ำประกันในทันที จนกว่าพยายามไล่เบี้ยหรือเรียกหนี้กับลูกหนี้จนสุดความสามารถแล้ว
ซึ่งหากท่านได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้แล้ว แม้ท่านพอจะรู้ว่าหากอีกฝ่ายไม่จ่ายท่านจะต้องจ่ายชำระหนี้แทน แต่ใครจะคิดหละว่าอีกฝ่ายไม่ใช้หนี้จริงจนท่านต้องจ่าย! แล้วแบบนี้กรณีใดบ้างที่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด มาศึกษาไปพร้อมกันครับ
1.หากหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ เช่น เจ้าหนี้และลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ประธานเกิดเป็นสัญญาฉบับใหม่ จึงไม่มีหนี้ตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ผู้ค้ำจะต้องรับผิด
2.หากเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันอาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันหนี้เพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อเจ้าหนี้ได้ โดยทำเป็นหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้ต่อเจ้าหนี้ ทำให้สัญญาค้ำประกันมีผลระงับไป
3.ในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำฯก่อน มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันจะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำทันที
อนึ่ง หากข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันบางข้อ เช่น มีการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ผลคือให้เจ้าหนี้ไปเรียกเอากับลูกหนี้ก่อน และหากเจ้าหนี้ไม่ส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันให้ทราบก่อนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ผลคือทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้น หรือหากตกลงในสัญญาอันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควรทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบ ก็ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะเช่นกัน หรือหากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็ให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันด้วย แต่ถ้าเป็นผลเสียแก่ผู้ค้ำจะใช้บังคับไม่ได้ เป็นต้น
ฉะนั้นหากเข้าทำสัญญาค้ำประกันแล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ หากเข้าตามเหตุข้างต้น ผู้ค้ำประกันก็มีเหตุอันควรหลุดพ้นความรับผิดแล้วครับ
ถ้าจำเลยไม่ยกข้อต่อสู้แบบนี้ ถึงคดีจะหมดอายุความไป ศาลก็สามารถตัดสินคดีได้เหมือนกับคดีที่ยังไม่หมดอายุความครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่