พินัยกรรม คือ

พินัยกรรม

เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย นอกจากทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายซึ่งเรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” แล้ว ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังตกทอดไปยังบุคคลอื่นได้โดยทางพินัยกรรมซึ่งเรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

ถ้าผู้ใดตายได้ทำพินัยกรรมไว้แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าเมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ต้องแบ่งปันทรัพย์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้พินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งมรดกแก่ทายาทโดยธรรมนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้ความสำคัญแก่ผู้รับพินัยกรรมมากกว่าทายาทโดยธรรม เพราะโดยสภาพของพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองหรือในการต่างๆอันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนถึงแก่ความตาย ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายยังเคารพหลักเจตนาของบุคคลในการแสดงออกเพื่อเป็นหลักประกันให้บุคคลเกิดความมั่นใจว่าเมื่อตนเองถึงแก่ความไปแล้วเจตนาที่แสดงไว้เผื่อตายในระหว่างมีชีวิตจะได้รับการยอมรับปฏิบัติตามโดยครบถ้วน

โดยที่ผู้รับพินัยกรรมเป็นทายาทที่มีความสำคัญดังกล่าว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่าเจตนากำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมที่แสดงไว้ในพินัยกรรมนั้นเป็นเจตนาที่แท้จริงของผู้ตาย กฎหมายจึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมไว้เป็นพิเศษซึ่งแตกต่างจากการทำนิติกรรมสัญญาอื่นๆ ทั่วไป และหากพินัยกรรมฉบับใดกรรมฉบับใดกระทำขึ้นโดยผิดหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ พินัยกรรมฉบับนั้นจะไม่มีผลบังคับ

พินัยกรรมเป็นนิติกรรมซึ่งจัดอยู่ในประเภทนิติกรรมฝ่ายเดียว กล่าวคือ ย่อมสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมเมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยไม่ต้องการเจตนาการยอมรับผู้รับพินัยกรรมแต่ผลของพินัยกรรมจะใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ซึ่งต่างไปจากสัญญาให้โดยเสน่หาตรงที่ว่าการให้เป็นสัญญามีลักษณะเป็นนิติกรรมสองฝ่ายต้องมีผู้ให้และผู้รับ ทั้งผู้รับต้องยอมรับเอาทรัพย์สินที่ให้นั้นด้วย

พินัยกรรม มีข้อพิจารณา 3 ประการ

กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน

1. มีการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง

  1. มีการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย หมายความว่า ผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดในเรื่องทรัพย์สินว่าเมื่อตนตายไปแล้วจะให้ทรัพย์สินเป็นของผู้ใด หรือจะให้ผู้ใดจัดการอย่างไร เช่น “ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สินทั้งหมดให้นายแดเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม” หรือ “ข้าพเจ้าขอทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่นายแดง”
  2. การแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินนั้นต้องกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของเองเท่านั้น ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของตนเองอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือในภายหน้าจะกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตนเองไม่ได้ เช่น ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรวมกับผู้อื่น จะทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินของตนได้ก็แต่เฉพาะส่วนของตนเท่านั้นซึ่งสามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้บุคคลอื่นได้เลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น
แสดงคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดในพินัยกรรม

2. เจตนาที่แสดงเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายต้องกำหนดไว้ในพินัยกรรม

  1. เจตนาที่แสดงเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายต้องกำหนดไว้ในพินัยกรรม การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้น ย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม กำหนดการเผื่อตายต้องทำเป็นคำสั่งนั้น ขึ้นอยู่กับการตีความและข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ากรณีใดจะเป็นคำสั่งหรือไม่ หากเป็นเพียงคำขอร้องคำปรารภ หรือคำรำพันย่อมไม่เป็นคำสั่ง ไม่อยู่ในลักษณะเป็นข้อกำหนดพินัยกรรม เช่น ทำพินัยกรรมยกเงินฝากในธนาคารให้นายแดงโดยมีคำขอร้องว่าเงินที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ส่วนตัว ขอให้นายดำใช้เป็นสาธารณประโยชน์ เช่นนี้ ไม่เป็นคำสั่ง ดังนั้น คำสั่งจึงต้องมีถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม
    คำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นคำสั่งครั้งสุดท้าย เหตุเพราะระหว่างผู้ตายยังมีชีวิตผู้ตายอาจทำพินัยกรรมไว้หลายครั้งหลายฉบับ ซึ่งอาจมีข้อความขัดกัน ดังนั้น กฎหมายจึงต้องกำหนดว่าให้ถือบังคับตามพินัยกรรมซึ่งทำเป็นคำสั่งสุดท้าย ส่วนพินัยกรรมฉบับก่อนๆ ก็ให้เป็นอันถูกเพิกถอนไป
ทำตามกฎหมาย

3. ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด

  1. ต้องทำตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดแบบของพินัยกรรมไว้หลายแบบ การทำพินัยกรรมจะเลือกทำตามแบบใดแบบหนึ่ง แต่ถ้าทำนอกแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่เป็นพินัยกรรมและทำให้พินัยกรรมตกโมฆะ ดังนั้นการทำพินัยกรรมเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจทำพินัยกรรมตามแบบใดแบบหนึ่งแต่ไม่ถูกต้องตามที่ตนตั้งใจไว้ ดังนี้ เมื่อไปต้องตามแบบอื่นก็ให้ถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย เช่นพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจทำ แต่สมบูรณ์ตามแบบพินัยกรรมลักษณะธรรมดาตาม ต้องถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ตามแบบธรรมดา
    ประการสำคัญต้องระลึกเสมอว่าพินัยกรรมทุกแบบที่ผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจทำขึ้นเนื้อความนั้นจะต้องบ่งแสดงว่าเข้าลักษณะของพินัยกรรมด้วย แม้จะเขียนข้อความขึ้นต้นว่าพินัยกรรม ก็ไม่อาจถือไว้ได้ว่าเอกสารที่ทำขึ้นนั้นเป็นพินัยกรรม ถ้ามิได้ทำแบบที่กฎหมายไว้

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด