ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
พินัยกรรมตัดทายาทออกจากมรดก เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 รายละเอียดติดตามบทความนี้
การส่งต่อทรัพย์สินเมื่อถึงคราววายชนม์ สามารถทำได้ในรูปแบบของมรดก โดยตกแก่ทายาทผู้รับมรดก ตามที่ทราบกันดีนั้น ซึ่งหากเจ้ามรดกมีความประสงค์ที่จะระบุชัดแจ้งว่าบุคคลใดควรได้ทรัพย์ได้ ก็สามารถทำเป็นข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยจะระบุทรัพย์เฉพาะสิ่งให้กับบุคคลใดโดยเฉพาะ หรือจะกำหนดยกทรัพย์ทั้งหมดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ได้ จะกำหนดให้มีผลถึงทรัพย์ที่เกิดขึ้นหลังจากทำพินัยกรรมด้วยก็ได้
ในทางกลับกัน หากประสงค์ที่จะไม่ให้ทายาทผู้รับมรดกคนใด มีสิทธิรับมรดก ก็สามารถระบุข้อกำหนดดังกล่าวได้ ด้วยการทำเป็นพินัยกรรม หรือ ทำเป็นหนังสือมอบไว้ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 โดยระบุถึงบุคคลที่จะตัดมิให้เป็นผู้รับมรดก
อีกทางหนึ่ง สามารถทำได้โดยการระบุยกทรัพย์สินอื่นทั้งหมดให้กับผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ทายาทผู้รับมรดกที่เหลือไม่มีสิทธิรับมรดก ก็จะตกเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกไปโดยปริยาย โดยในมาตรา 1608 วรรคท้าย กล่าวถึงการจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมด ทายาทที่เหลือผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
พินัยกรรมจะมีข้อกำหนดยกทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่บุคคลใดทั้งหมดตาม 1608 วรรคท้าย แต่หากบังเอิญข้อกำหนดดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ด้วยเหตุขัดต่อกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 1653 ประกอบ มาตรา 1705) ทรัพย์ในส่วนข้อกำหนดที่เสียเปล่าจะตกแก่ทายาทโดยธรรม และทำให้การตัดมิให้รับมรดกนั้นสิ้นผลไปเช่นกัน
สุดท้ายหากเจ้ามรดกที่ตัดทายาทออกจากกองมรดกไปแล้ว เกิดเปลี่ยนใจไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็สามารถถอนเจตนาตัดทายาทออกจากกองมรดก หากเดิมได้ตัดโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่หากเป็นกรณีตัดทายาทโดยการทำหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถถอนได้โดยการมอบเป็นหนังสือด้วยวิธีเดิม หรือจะถอนโดยพินัยกรรมก็ได้ทั้งสองวิธี
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่