ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
รถหายเป็นกรณีที่มีบุคคลหนึ่งเอารถไปโดยทุจริต(เรียกภาษาชาวบ้านว่าขโมย) ซึ่งบุคคลนี้เป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนชดใช้ความสูญหายเสียหาย แต่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถจับตัวบุคคลนี้ได้ จึงต้องตามหาบุคคลที่ต้องรับผิดในรถที่หายนี้ ทางเราได้รวบรวมหลักกฎหมายมาพิจารณาตามแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
หากการจอดรถเป็นลักษณะมอบการครอบครองรถ เช่น มอบกุญแจรถ เป็นต้น เช่นนี้ตามกฎหมายถือว่าเป็นการฝากทรัพย์ประเภทหนึ่งเมื่อการฝากมีให้สิ่งใดๆเป็นค่าตอบแทน เช่น เงิน เป็นต้น จึงเป็นการฝากโดยมีบำเหน็จ ผู้รับฝากต้องรักษาทรัพย์นั้นเช่นบุคคลทั่วไปดูแลรักษาทรัพย์ของตน และหากเป็นผู้มีวิชาชีพในทางการค้าหรือในทางอาชีพ ผู้รับฝากต้องระมัดระวังในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพ(ตามนัยของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659) จึงเกิดความรับผิดในผู้รับฝากมากเกินสมควรเมื่อรถหายย่อมต้องรับผิดชดใช้ความสูญหายเสียหาย ปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีการรับฝากรถประเภทนี้
หากเป็นการจอดรถที่ไม่ได้มีการมอบการครอบครองรถ แต่เพียงจัดสถานที่จอดรถให้ในลักษณะเช่าที่จอดรถซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เช่นนี้บุคคลที่ต้องรับผิดในเบื้องต้นคือบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแล เช่นพนักงานรักษาความปลอดภัย(รปภ.) หากบุคคลผู้มีหน้าที่ทำหน้าที่นั้นบกพร่อง(ยกเว้นหรือละเว้นในหน้าที่) เช่น ไม่ตรวจตราบัตรเข้าออก เป็นต้น บุคคลนี้ต้องรับผิดในความสูญหายเสียหายครั้งนี้ บุคคลต่อมาที่ต้องรับผิดคือนายจ้างหรือตัวการของบุคคลนั้นโดยทางกฎหมายได้กำหนดหลักไว้ว่าให้นายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างหรือตัวแทน หากลูกจ้างหรือตัวแทนกระทำไปในทางการที่จ้างหรือทางการที่ได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทน(ตามนัยของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ 427) เช่นนี้หากเจ้าของสถานที่เป็นนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องร่วมรับผิด แต่หากเป็นเพียงผู้ว่าจ้าง เช่น ผู้ว่าจ้างบริษัทรปภ. เป็นต้น ย่อมไม่ต้องรับผิดเนื่องจากตามกฎหมายถือเป็นสัญญาจ้างทำของ(อันเป็นสัญญาที่มุ่งประสงค์ถึงผลสำเร็จของงานไม่ได้มุ่งถึงระยะเวลาและอำนาจบังคับบัญชา) อันผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดกับผู้รับจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งของตน หรือในการเลือกผู้รับจ้าง(ตามนัยของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 428)
หากเป็นการจอดรถในลักษณะเช่าที่กล่าวมาที่ผู้ว่าจ้างเป็นห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถในลักษณะที่มีการเก็บค่าบริการหรือไม่ นอกจากอาจเรียกให้บุคคลผู้มีหน้าที่ดูแล เช่นพนักงานรักษาความปลอดภัย(รปภ.) และนายจ้างหรือตัวการของบุคคลนั้นแล้ว ห้างสรรพสินค้าต้องรับผิดในความสูญหายเสียหายด้วยเนื่องจากการที่ผู้รับจ้างทำการบริการให้สถานที่จอดรถแล้วย่อมทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าผู้ว่าจ้าง(ห้างสรรพสินค้า) เป็นผู้จัดให้มีที่จอดรถโดยมีผู้รับจ้างเป็นตัวแทน และการที่ให้บริการจอดรถนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าถือเป็นผลต่อยอดขายสินค้าด้วย (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 7471/2556,4125/2556,2506/2560)
หากเป็นการจอดรถในลักษณะเช่าที่กล่าวมาที่ผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคลอาคารชุดเช่น คอนโด เป็นต้น การเรียกให้นิติบุคคลอาคารชุดรับผิด นอกจากเรียกให้บุคคลผู้มีหน้าที่ดูแล เช่นพนักงานรักษาความปลอดภัย(รปภ.) และนายจ้างหรือตัวการของบุคคลนั้นแล้ว ย่อมไม่อาจเรียกได้เนื่องจากตามกฎหมายอาคารชุดแล้วกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่จัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตามมติของเจ้าของร่วม โดยมีผู้จัดการหรือคณะกรรมการเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง การว่าจ้างผู้ใดมาดูแลตามสัญญาว่าจ้างแล้วย่อมเป็นการว่าจ้างมาดูแลความเรียบร้อยในทรัพย์ส่วนกลางเท่านั้นไม่รวมไปถึงทรัพย์ส่วนบุคคลเช่น รถยนต์ เป็นต้น (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 2369/2557) ซึ่งกรณีนี้น่าหมายรวมถึงกรณีของนิติบุคคลหมู่บ้านด้วยเนื่องจากหน้าที่การดูแลทรัพย์ส่วนกลางมีความคล้ายคลึงกัน
และ ประเด็นสุดท้ายที่ทางเรารวบรวมได้คือ หากเป็นการจอดรถในอพาร์ทเม้นท์ที่เช่านั้น หากไม่ได้มีที่จอดประจำ และไม่มีการเก็บค่าจอดรถนั้น เป็นการที่เจ้าของอพาร์ทเม้นท์เพียงแต่จัดสถานที่จอดรถไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เช่าเท่านั้น ทางเจ้าของอพาร์เม้นท์จึงไม่ต้องรับผิดในรถหาย(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 7779/2560)
เช่นนี้ตามที่กล่าวแม้จะไม่สามารถจะให้บุคคลที่เอารถไปได้โดยตรงแล้ว แต่ก็อาจหาผู้รับผิดในความสูญหายเสียหายได้ จึงต้องพิจารณาหาผู้รับผิดโดยละเอียดหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่อไป
ขอบคุณที่ติดตาม และหากบทความนี้มีประโยชน์แก่บุคคลใดโปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่