ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละประเทศสามารถทำได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลสินค้าที่จำหน่ายอยู่นอกราชอาณาจักรเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ย่อมทำได้ไม่จำกัดเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าเหมือนแต่ก่อน จึงทำให้มีกรณีที่บุคคลโดยทั่วไปสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเป็นปกติ
การสั่งสินค้านั้น นอกจากราคาสินค้าและค่าขนส่งแล้ว สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้ซื้อหรือผู้นำของเข้าไม่ทันได้คาดไว้ในตอนที่ตัดสินใจซื้อ โดยพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 13 วรรคแรก ได้กำหนดไว้ว่า การนำของเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ดังนั้นแล้วผู้นำของเข้าไม่ว่าจะประกอบกิจการหรือนำเข้าเพื่อเป็นการส่วนตัว มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
จะถูกคัดแยกออกเป็น 3 ประเภท และปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้
ประเภทที่ 1 คือ ของซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรือตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและ ไม่มีราคาในทางการค้า และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้า เป็นของยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับต่อไป
ประเภทที่ 2 คือ ของที่ส่งจากผู้ส่งคนหนึ่งถึงผู้รับคนหนึ่งในคราวเดียวกันหรือเข้ามาถึงพร้อมกัน ไม่ว่าจะมีจำนวนกี่หีบห่อหากมีราคา FOB (Free On Board) รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด หรือของที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์สินค้าก่อนปล่อย เป็นของต้องชำระอากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจของต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย จำกัด ประเมินราคาและค่าภาษีอากรทุกประเภท เจ้าหน้าที่ศุลกากรส่งมอบของให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ที่อยู่ของผู้รับ ผู้รับของ นำ “ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ” ที่ระบุที่ทำการไปรษณีย์ให้ไปติดต่อรับของ / ชำระภาษีอากร ไปชำระภาษีอากร ณ ที่ทำการไปรษณีย์
ประเภทที่ 3 ของอื่นๆ นอกจากประเภทที่ 1 และ 2 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบของให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำไปเก็บรักษาในโรงพักสินค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือส่งไปที่ สำนักงาน/ด่านศุลกากรแล้วแต่กรณี ผู้รับของนำ “ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ” ไปติดต่อรับของ / ชำระภาษีอากร ณ ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับของประเภทที่ 3 สามารถดำเนินการได้ 2 กรณี คือ
1. กรณีของมีราคา FOB เกินกว่า 40,000 บาท ผู้รับของจะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าโดยการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า โดยมีผู้ให้บริการ Service Counter คอยให้บริการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
2. กรณีของมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท ผู้รับของไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินราคาและจัดเก็บค่าภาษีอากร ณ จุดเดียวกัน
หากผู้นำของเข้าเห็นว่าเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็สามารถทำคำร้องโต้แย้งการประเมินภาษีอากรได้ดังนี้
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่