ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เช็คเป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ผู้สั่งจ่าย สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินกับผู้รับเงิน โดยเป็นสิ่งที่ผู้ที่ประกอบธุรกิจใช้ในการชำระหนี้ต่างๆแทนเงินสด การใช้เช็คนั้นจึงเป็นที่แพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยเป็นตราสารที่มีการใช้อย่าแพร่หลายกฎหมายจึงได้กำหนดลักษณะไว้อย่างเฉพาะ
ในการรับผิดชอบตามกฎหมายแพ่งนั้น นอกจากจะต้องรับผิดตามหนี้ของสัญญาเดิมแล้ว ยังต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คที่สั่งจ่ายด้วย ส่วนในทางอาญานั้น มีกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 4 กำหนดบทความผิดและบทลงโทษไว้แก่บุคคลที่สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้และมีเจตนาให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสาระสำคัญในความผิดอาญาที่เกิดจากการใช้เช็คนั้น แบ่งได้ออกเป็น 3 ประการคือ
ตามสาระสำคัญข้อที่ 1 ที่ว่า “ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย” คือ หนี้ที่ขณะสั่งจ่ายนั้น ผู้สั่งจ่ายต้องเป็นหนี้กันอยู่จริงๆ และส่วนที่บังคับได้ตามกฎหมายนั้นคือหนี้ตามเช็คนั้นตามกฎหมายใดๆก็ตามสามารถบังคับให้ผู้สั่งจ่ายชำระหนี้นั้นได้ เช่นนี้แล้ว เหล่านักกฎหมายหรือทนายความพยายามใช้หลักกฎหมายนี้เป็นแนวทางนำไปสู้คดีอาญาในความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยพิจารณาจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาว่าสิ่งใดไม่ใช่หนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยทางเราจะให้แนวทางเบื้องต้นแก่ผู้อ่านดังนี้ หนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับไม่ได้ตามกฎหมายคือ หนี้ที่มีกฎหมายกำหนดมีหน้าที่ให้ผู้สั่งจ่ายต้องชำระ และทำได้ถูกต้องตามแบบถ้ากฎหมายกำหนดว่าหนี้มีแบบตามกฎหมาย อีกทั้งต้องเป็นหนี้ที่มีวัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ตัวอย่าง เช่น การออกเช็คแลกเงินสดเป็นการออกเช็คที่ไม่มีหนี้ต่อกันตามกฎหมาย(คำพิพากษาฎีกาที่1518/2535)แต่เมื่อธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินมีการออกเช็คใหม่เพื่อแลกกับเช็คฉบับเดิมย่อมถือเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย(คำพิพากษาฎีกาที่2921/2540) , การขายลดเช็คไม่ถือว่ามีหนี้ต่อกันตามกฎหมาย เนื่องการออกเช็คนั้นไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่แต่อย่างใด(คำพิพากษาฎีกาที่378/2536), การออกเช็คชำระหนี้ซึ่งจำนวนเงินส่วนหนึ่งในเช็คเป็นการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายและจำนวนเงินอีกส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้ดอกเบี้ยทบต้นที่ต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย โดยรวมอยู่ด้วยในเช็คฉบับเดียวกันและไม่อาจแบ่งแยกกันได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด(คำพิพากษาฎีกาที่5529/2539),การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ภายหลังออกเช็คแล้วจะทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ตามก็ถือว่าในขณะออกเช็คหนี้นั้นไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย(คำพิพากษาฎีกาที่3722/2538) เป็นต้น
ตามสาระสำคัญข้อที่ 2 ที่ว่า “การออกเช็คนั้นต้องมีลักษณะคือ เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น หรือในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ หรือให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น หรือถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้ หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต” คือ การออกเช็คจะมีความผิดอาญาได้ผู้สั่งจ่ายต้องมีลักษณะที่ออกเช็คประการใดประการหนึ่งตามสาระข้อ 2 นี้ โดยสรุปคือ ต้องเป็นการออกเช็คที่จะไม่ให้มีการใช้หรือได้เงินตามเช็คนั้น โดยทางปฏิบัติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินอยู่หลายประการแต่ประการที่น่าจะตรวจสอบเบื้องต้นได้ก่อนจะดำเนินการให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดในทางอาญาได้ก็ควรต้องเป็นการปฏิเสธจากธนาคาร มาด้วยเหตุผลว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่าย หรือบัญชีถูกปิดแล้ว หรือผู้สั่งจ่ายระงับการจ่ายเงิน จึงเข้าข่ายเบื้องต้นว่าเป็นความผิดทางอาญา
ตามสาระสำคัญข้อที่ 3 ที่ว่า “เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น” คือผู้เสียหายได้นำเช็คไปขอขึ้นเงินตามระเบียบธนาคารแล้วทางธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
นอกจากสาระสำคัญทั้งสามประการที่กล่าวแล้ว ตามแนวคำพิพากษาฎีกา ได้ว่าแนวสำคัญประการหนึ่งว่า การออกเช็คที่ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้แม้จะสมบูรณ์ตามกฎหมายแพ่ง แต่ผู้สั่งจ่ายก็ไม่ได้มีความผิดอาญาแต่ประการใด(คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2547)
ขอบคุณที่ติดตาม หากบทความนี้มีประโยชน์โปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่