ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
การตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่กระทำการในการจัดการทรัพย์สินแทนเจ้ามรดก ตลอดจนแบ่งมรดกให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในมรดกจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลใดขึ้นเป็นผู้จัดการมรดก โดยก่อนศาลออกคำสั่งนั้น ศาลจะมีการพิจารณาคำร้อง พยานหลักฐานต่าง ๆ และอาจมีการไต่สวนคำร้อง เพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฎชัดแจ้งว่าการตั้งผู้จัดการมรดกนั้น สอดคล้องกับกฎหมายและเหมาะสมในการจัดการมรดกอย่างเป็นธรรม
หากเป็นสภาวะปกติ หลังจากยื่นคำร้องแล้วศาลจะนัดวันไต่สวน โดยเมื่อถึงวันนัด ผู้ร้อง ทนายผู้ร้อง เข้าเบิกความต่อศาลและนำพยานหลักฐานเข้าแสดงต่อศาล แต่ด้วยสภาวะโรคระบาด Covid-19 ทำให้ต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน การเข้าไต่สวนในห้องพิจารณาตามปกติ อาจจะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้ จึงทำให้ศาลยุติธรรม นำระบบพิจารณาคดีแบบออนไลน์ เข้ามาใช้ในหลายคดี รวมไปถึงการไต่สวนคำร้องในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกด้วย โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในหนังสือของศาลยุติธรรม ที่ ศย 016/ว391 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับวิธีการดังต่อไปนี้
หลังจากไต่สวนคำร้องแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งให้คู่ความทราบคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ณ ตอนไต่สวนเลยก็ได้ ส่วนการคัดรับรองคำสั่งศาล สามารถขอคัดได้ภายหลัง หากต้องการหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ในกรณีไม่มีผู้คัดค้าน สามารถร้องขอต่อศาลได้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งไปแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน เช่นเดียวกันกับการไต่สวนตามปกติ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่