ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในยุคที่ดิจิทัลคือทุกสิ่ง ข้อมูลข่าวสารก็กลายเป็นแหล่งรายได้ที่ทรงพลังในหลายภาคธุรกิจ บ่อยครั้งที่เรามักจะได้เบอร์ที่ไม่คุ้นเคยพร้อมเสียงปลายสายกระหน่ำขายสินค้า หรือพล่ามเกี่ยวกับประกันชีวิตที่เราไม่เคยอยากเสียเวลาแม้เพียงนิดเพื่อจะรับฟังก็ตาม ทำให้เรามักจะเกิดความสงสัยว่าเขาเหล่านั้นได้ข้อมูลเราจากไหน? และที่สำคัญ…เขามีสิทธิอะไรที่จะใช้ข้อมูลของเรา!!
สรุปแล้วเรายังมี “สิทธิ” ใน “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของเราจริงหรือไม่!? วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง!
ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ” หมายความว่า กฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงข้อมูลทุกประเภทที่สามารถทำให้เกิดการระบุหรือจำเพาะได้ว่าหมายถึงบุคคลใด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ระบุโดยตรง เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน ภาพถ่าย หรือข้อมูลที่เมื่ออยู่ลำพังอาจไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ แต่เมื่อประกอบรวมกันแล้วสามารถบ่งชี้ตัวบุคคลได้ เช่น อายุ หรือ เพศ โดยลำพังอาจไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ แต่เมื่อประกอบรวมกับข้อมูลอื่น เช่น ที่อยู่อาศัย รูปพรรณสัณฐาน ส่วนสูง น้ำหนัก หรือ วันเดือนปีเกิด ก็อาจสามารถระบุตัวบุคคลได้ เช่นนี้ทั้งหมดนั้นรวมกันก็จัดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้เช่นเดียวกัน ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองนั้นจะต้องเป็นข้อมูลของบุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้เสียชีวิตและข้อมูลนิติบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ว่านี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่เรียกว่า “ข้อมูลอ่อนไหว” (Sensitive Data) ซึ่งได้รับความคุ้มครองมากกว่าข้อมูลส่วนบุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลได้ง่ายกว่า เช่น ทัศนคติทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลชีวภาพ (ลายนิ้วมือ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ฯลฯ) หรือแม้กระทั่งเชื้อชาติ เป็นต้น
โดยปรกติแล้วบุคคลอื่นจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมไม่ได้ เว้นแต่มีฐานทางกฎหมายที่กำหนดให้ทำได้ซึ่งฐานทางกฎหมายนี้แบ่งออกเป็น 1.การป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ (Vital Interest) 2.การปฏิบัติตามสัญญา (Contract) 3.ประโยชน์สาธารณะ (Public Task) 4.การจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) 5.การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) 6.การทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัย หรือสถิติ (Historical Document Statistics or Research)
ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าไปโรงพยาบาลเพื่อทานอาหารในโรงพยาบาล เช่นนี้โรงพยาบาลจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปโดยไม่ยินยอมไม่ได้ แต่หากขณะทานอาหารเราหมดสติไป ถูกส่งไปยังแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ทางโรงพยาบาลอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เช่น ชื่อ นามสกุล หมู่เลือด (จากบัตรประชาชน) รวมถึงข้อมูลสุขภาพอื่นเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลได้ กรณีนี้โรงพยาบาลมีฐานทางกฎหมายในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูล คือ ฐานการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ
หากต่อมาเราให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเราเพิ่มเติมแก่โรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาลทำเรื่องเคลมเงินจากประกันสุขภาพ ปรากฏว่ามีบริษัทประกันชีวิตโทรมาเสนอขายประกัน อ้างว่าได้เบอร์โทรศัพท์มาจากการเคลมประกันสุขภาพของเราจากโรงพยาบาล กรณีนี้บริษัทประกันชีวิตไม่มีฐานทางกฎหมายที่จะอ้างได้ เนื่องจากข้อมูลที่ให้แก่โรงพยาบาลนั้นเพื่อการทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ได้มีการให้ความยินยอมโรงพยาบาลในการเปิดเผยต่อบริษัทประกันเพื่อทำการตลาดแต่อย่างใด
เจ้าของข้อมูลย่อมมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นลบหรือทำลายหรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ทั้งนี้ ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้อีกต่างหาก โดยศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงเป็นจำนวนไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงด้วย
ทั้งนี้ หากเป็นการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวโดยไม่มีฐานทางกฎหมายในประการที่น่าจะทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหาย ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่