ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
จากข้อมูลศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนพบว่าในปี พ.ศ. 2564 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งสิ้น 13,518 ราย ซึ่งหากเดินทางไปบนถนนของประเทศไทยที่มีระยะทางรวมกว่า 701,847 กิโลเมตร จะพบว่าในทุก ๆ 52 กิโลเมตรจะมีผู้เสียชีวิต 1 คน เคยสงสัยไหมว่าผู้กระทำผิดจะต้องชดใช้อะไรบ้าง และชดใช้ให้ใคร? ในเมื่อผู้เสียหายได้ตายไปแล้ว
กรณีที่มีการขับรถชนคนเสียชีวิต กฎหมายให้สิทธิบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตบางประเภทสามารถเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำผิดได้ แต่ค่าสินไหมทดแทนนี้มิได้ให้เพื่อกำหนดคุณค่าหรือราคาชีวิตผู้ตายแต่อย่างใด เพียงแต่ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความผูกพันตามกฎหมายกับผู้ตายบางคนอาจได้รับผลกระทบในทางเศรษฐกิจจากการตายของผู้ตาย กฎหมายจึงกำหนดให้มีการเรียกค่าสินไหมทดแทนกันได้เพื่อเยียวยาบุคคลดังกล่าว กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าฝ่ายที่ขับรถชนเป็นฝ่ายผิด (กรณีชนและเสียชีวิตทันที) ดังนี้
1. ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ โดยค่าปลงศพ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในในการทำศพของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นค่าห่อศพ ค่าฉีดยาป้องกันศพเน่า ค่าแต่งศพ ค่าพิธี ค่าทำบุญตามประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะต่างกันไปตามประเพณีของแต่ละศาสนา (ไม่จำกัดเฉพาะศาสนาพุทธ) ** อย่างไรก็ตาม ค่าปลงศพนั้นเรียกได้ตามฐานะและตามสมควรเท่านั้น หากใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินฐานะ เกินประเพณีย่อมไม่อาจเรียกได้ ** ส่วนค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการจัดการศพ เช่น ค่าดอกไม้ ค่าเดินทางของผู้มีหน้าที่ปลงศพ (ไม่รวมญาติผู้ตาย) ค่าเครื่องเสียง ค่าถวายปัจจัยพระ ค่าหนังสืองานศพ ค่าของชำร่วย เป็นต้น
บุคคลที่มีสิทธิเรียกค่าปลงศพ: บุคคลที่มีหน้าที่จัดการศพของผู้ตาย ได้แก่ ผู้จัดการมรดก (กรณีผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้) หรือ ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุด (กรณีผู้ตายไม่ได้แต่งตั้งใครไว้)
2. ค่าขาดไร้อุปการะ หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่บุคคลที่ผู้ตายมีหน้าที่ต้องอุปการะตามกฎหมาย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้เลี้ยงดูตามจริงหรือไม่ เช่น แม้ผู้ตายยังเป็นเด็กยังไม่สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ตามความเป็นจริง แต่กฎหมายให้พ่อแม่สามารถเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้เพราะตามกฎหมายแล้วบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
บุคคลที่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ: บุตรผู้เยาว์ (กรณีผู้ตายเป็นบิดาหรือมารดา) บิดามารดา (กรณีผู้ตายเป็นบุตร) คู่สมรส
3. ค่าขาดแรงงาน หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้แก่บุคคลที่ผู้เสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้ เช่น กรณีที่ผู้ตายทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท หากมีความเสียหายจากการขาดแรงงานของผู้ตายอย่างไรทางบริษัทย่อมเรียกค่าขาดแรงงานนั้นได้
ดังนั้น กรณีชนแล้วเสียชีวิตทันที แม้ผู้เสียหายจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายตามที่กฎหมายกำหนดยังสามารถเรียกให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โดยได้แก่ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ค่าขาดไร้อุปการะ และค่าขาดแรงงาน
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่