ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
หนี้ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิและหน้าที่ของบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ เจ้าหนี้ลูกหนี้ โดยกฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฎิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ ทั้งนี้บ่อเกิดแห่งหนี้นั้นสามารถพิจารณาได้ 2 ประการ ได้แก่ นิติกรรมและนิติเหตุโดยนิติกรรม หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคลที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจ มุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ นิติกรรมนั้นหากเป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญา ส่วนนิติเหตุ หมายถึง เหตุที่กฎหมายกำหนดให้มีมูลหนี้เกิดหนี้
การที่ลูกหนี้ไม่กระทำการใดการหนึ่งตามที่ได้ตกลงหรือผูกพันกัน ทำให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิเรียกร้องที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จะต้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากหนี้อันถึงกำหนดชำระแล้วและลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้
หนี้ที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ อาจเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้กำหนดเอาไว้เป็นระยะเวลาที่แน่นอนดังจะพิจารณาได้ ซึ่งผลจากการที่ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้มิพักต้องเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้เลย เจ้าหนี้จะสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รวมทั้งสิทธิเรียกร้องอื่นๆได้ เช่น ดอกเบี้ยผิดนัด ค่าสินไหมทดแทน เป็นต้นได้นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด แต่หากหนี้นั้นเจ้าหนี้และลูกหนี้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้เอาไว้เป็นระยะเวลาที่แน่นอนและมิได้อาจอนุมานตามพฤติการณ์ต่างๆ เมื่อพิจารณา เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดนพลันกล่าวคือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้โดยพลัน กล่าวคือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้ได้ตั้งแต่ในขณะที่มูลหนี้นั้นเกิดขึ้น และเมื่อเจ้าหนี้ได้มีคำเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผิดนัดอันจะก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องต่างๆแก่เจ้าหนี้ได้
นอกจากจะเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ยังหมายรวมถึงการไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้นั้นด้วย ได้การชำระหนี้ล่าช้า การชำระหนี้ไม่ถูกต้อง
การคู่สัญญามิได้ปฎิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นข้อตกลงที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาก่อหนี้ขึ้นผูกพันตนต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดที่ทั้งสองฝ่ายต่างต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฎิบัติตามข้อตกลงนั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงนั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฎิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิในการเรียกอีกฝ่ายหนึ่งปฎิบัติตามสัญญา หรือสิทธิต่างๆเกิดขึ้น เช่น การเลิกสัญญา การเรียกค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ดังนั้น การผิดสัญญา จึงเป็นการไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงที่บุคคลสองฝ่ายได้กำหนดไว้ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงที่รวมไปถึงหนี้กระทำการหรือหนี้งดเว้นกระทำการด้วย มิใช่เป็นเพียงการไม่ชำระหนี้เพียงหนี้เงินเท่านั้น แต่หนี้เช่นว่านั้นส่งผลต่อสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้คู่สัญญาสามารถใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้มาเรียกให้ลูกหนี้หรือคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญานั้นปฎิบัติตามข้อสัญญาหรือใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นเอง
ตัวอย่าง กรณีทรัพย์ชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขาย จะเห็นได้ว่า มิใช่กรณีที่ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์คือผู้ขายไม่ชำระหนี้แต่เป็นกรณีที่ผู้ขายผิดข้อตกลงที่จะต้องส่งมองทรัพย์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ผู้ซื้อซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าหนี้ที่รับมอบทรัพย์อาจรับทรัพย์นั้นไว้และเรียกค่าสินไหมแทนในการผิดสัญญานั้นก็ได้ เป็นต้น
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่