ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
จากบทความตอนที่แล้วเรื่อง ของหมั้น แต่ในบทความตอนที่สองนี้จะพูดถึงเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายดูจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อมีงานหมั้นและงานแต่งงาน นั่นคือ “สินสอด”
กฎหมายได้กล่าวถึงสินสอดไว้ว่า “สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้นได้ ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้”
หากในวันหมั้นฝ่ายชายไม่มีสินสอดให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงจึงได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงว่าจะให้สินสอดในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ และบิดามารดาฝ่ายหญิงเรียกให้ฝ่ายชายชำระค่าสินสอดตามที่เคยตกลงได้ (ฎีกาที่ 13672/2557)
กฎหมายมิได้กำหนดว่าในการทำสัญญาหมั้น หรือจัดพิธีหมั้นนั้นจำเป็นจะต้องมีสินสอดแต่อย่างใด ดังนั้น หากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสามารถตกลงกันได้ก็สามารถจัดงานหมั้นได้โดยไม่ต้องมีสินสอด แต่ยังจำเป็นต้องมีของหมั้น เพราะของหมั้นเป็นสาระสำคัญในสัญญาหมั้น แต่ของหมั้นนั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีมูลค่าเท่าใด ฝ่ายชายจึงนำทรัพย์สินใดมาเป็นของหมั้นก็ได้ตราบเท่าที่ฝ่ายหญิงยังยินยอมที่จะหมั้น
กฎหมายมีการกำหนดกรณีที่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ไว้ 2 กรณี คือ
1. กรณีที่ไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง
คำว่าเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงนี้คงหมายถึง เหตุใด ๆ ก็ตามที่อาจกระทบกระเทือนถึงการสมรสระหว่างชายและหญิงคู่หมั้นในการดำรงชีวิตคู่ในภายหน้าได้ ตัวอย่างเหตุสำคัญที่อาจเกิดแก่หญิงที่ทำให้ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ เช่น หญิงได้มีการร่วมประเวณีกับชายอื่น หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันไม่อาจทำให้ใช้ชีวิตคู่ได้อย่างปรกติสุข เป็นต้น
2. กรณีที่ไม่อาจสมรสเพราะมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
พฤติการณ์ที่ถือว่าฝ่ายหญิงจะต้องรับผิดชอบนั้นอาจมีได้หลายกรณี เช่น หญิงไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส หรือหญิงได้ทิ้งชายคู่หมั้นไป (ฎีกาที่ 5973/2533) เป็นต้น
กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 1441 ว่าหากคู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนทั้งของหมั้นและสินสอด
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่