ฟ้องผิดสัญญาหมั้น

การหมั้น คือเป็นสัญญาว่าฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงตกลงกันว่าในอนาคตจะทำการสมรส (การแต่ง) โดยฝ่ายชายนำสินสอดไปให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทอง หรือทรัพย์สินอื่นๆ

โดยฟ้องผิดสัญญาหมั้น เป็นส่วนหนึ่งของคดีครอบครัว สามารถรับบริการ จาก MKC Legal Office
ได้ที่.. ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัว หรือ จ้างทนายคดีครอบครัว

รับทำคดีผิดสัญญาหมั้น

รับทำคดีผิดสัญญาหมั้น

ที่นี่ปัญหาเกิดขึ้นภายหลังสัญญาหมั้น คือ ฝ่ายชายไม่ยอมทำการสมรสกับฝ่ายหญิง หรือฝ่ายหญิงไม่ยอมสมรสกับฝ่ายชาย ถือว่าผิดสัญญาหมั้น ซึ่งแน่นอนทำให้เกิดความเสียหายไม่ว่าทั้งฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ตาม เช่นกรณีฝ่ายชาย เงิน ทอง ซึ่งเป็นสินสอดที่ให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงไม่ยอมสมรสด้วย ฝ่ายชายก็ได้รับความเสียหาย ฝ่ายชายก็คงอยากจะได้เงิน ทอง กลับคืนมา หรือกรณีฝ่ายหญิง อาจได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทำให้ฝ่ายหญิงอับอายได้ด้วย ฝ่ายหญิงก็ได้รับความเสียหาย เมื่อคุณเจอเหตุการณ์แบบนี้ต้องคงฟ้องผิดสัญญาหมั้น เพื่อเรียกค่าทดแทน (ความเสียหาย) มี 3 กรณี ดังต่อไปนี้

ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อกาย

ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียง ของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง

การที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นอาจเกิดความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ซึ่งกฎหมายจึงให้มีการใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย เช่น การกอดจูบลูบคลำ การล่วงเกินกันบ้าง ก็ทำให้เกิดความเสียหายได้ หรือในกรณีชื่อเสียง เช่นหญิงไม่ยอมสมรสกับชาย ชายอาจจะได้รับความรังเกียจแก่หญิงอื่นๆ ได้รับความอับอายด้วย

ฟ้องค่าเสียหายเนื่องจากคู่หมั้นจัดการทรัพย์สินของตัวเองโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ค่าทดแทนในข้อนี้จำกัดเฉพาะกรณีชายหญิงคู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือจัดกิจการไปในทางที่เสียหายโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงขายทรัพย์สินหรือจำหน่ายกิจการเพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่างประเทศ หรือชายสอบเป็นปลัดอำเภอกำลังจะเรียกบรรจุ ชายสละสิทธิเพื่อที่จะทำการสมรสกับหญิงและไปอยู่ต่างประเทศ เช่นนี้หากต่อมามีการผิดสัญญาหมั้น หญิงหรือชายดังกล่าวก็เรียกค่าทดแทนได้ แต่ถ้าขายทรัพย์สินหรือจำหน่ายกิจการได้กำไร ความเสียก็ไม่มีที่จะมาเรียกค่าทดแทนกัน

ฟ้องค่าเสียหายเนื่องจากบิดามารดาได้เป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรส

ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสที่เรียกค่าทดแทนจากกันได้นั้น หมายถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ชายหญิงต้องต้องกระทำเพื่อเตรียมการที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันสามีภริยากันโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อนแซมบ้านที่อยู่อาศัยชองคู่สมรส ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากจังหวัดที่ตนอยู่มาจังหวัดที่จะทำการสมรส หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งหรือเครื่องเรือนสำหรับเรือนหอ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในข้อนี้กฎหมายจำกัดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรไม่ได้ขยายถึงค่าใช้จ่ายในการหมั้นด้วย

บิดามารดาเป็นหนี้จากเตรียมการสมรส

ตัวอย่างผิดสัญญาหมั้น

ตัวอย่างคดีผิดสัญญาหมั้น

ตัวอย่างฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น

ฎีกา 2086/2518 ชายผิดสัญญาหมั้น ศาลกำหนดค่าทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงโดยพิเคราะห์ฐานะและสภาพความเป็นอยู่ของหญิงแต่หักจำนวนเงินหมั้นที่ได้รับไว้แล้ว

ตัวอย่างฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น

ฎีกา 483/2533 จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 มีสติไม่สมบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อนแต่พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้วแม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์

รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ คดีครอบครัว มาให้ชมกัน

สำหรับท่านที่ต้องการ ติดต่อปรึกษาทนายคดีครอบครัว หรือว่าจ้างทนายคดีครอบครัวได้ทางไลน์ @mkclegal