การประกันตัวผู้ต้องหา
หรือจำเลยในคดี

การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี

 ทำอย่างไรถึงสามารถประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ซึ่งในทางกฎหมายจะเรียกว่า “การปล่อยตัวชั่วคราว” คือการอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล               
          การประกันตัว คือ การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนหรือขอให้ปล่อยจำเลยในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ ฎีกา เป็นการชั่วคราว

            การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย สามารถขอประกันตัว “ได้ทุกชั้น”ในระหว่างการสอบสวนและระหว่างการพิจารณาคดี

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอประกันตัว มีดังนี้

1.ความหนักเบาตามข้อหาของคดี

2.พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอต่อการดำเนินคดีหรือไม่

3.พฤติการณ์ของคดี

4.ความน่าเชื่อถือผู้ขอประกันตัว

5.ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่

6.อันตราย หรือความเสียหายที่เกิดหลังประกันตัว

7.คำค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์หรือผู้เสียหาย (เฉพาะในชั้นศาล)

8.ความเห็น คำสั่ง ผู้อำนวยการสถานพินิจฯเด็ก (เฉพาะในชั้นศาล)

กรณีที่ศาลไม่สั่งอนุญาตเพราะเหตุใดบ้าง

1.ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี

2.ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน

3.ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

4.ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

5.การอนุญาตให้ประกันตัวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล

มีกรณีที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยไม่มีผู้ประกัน ต้องเป็นกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชนและครอบครัว และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจสั่งปล่อยตัวชั่วคราวตามที่ศาลเห็นสมควร โดยไม่ต้องมีผู้ขอประกัน

ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกัน และหลักทรัพย์ที่ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี

  ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกัน

1. ผู้ต้องหาหรือจำเลย
2. ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องเช่น พ่อแม่ ลูก คู่สมรส ญาติพี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนเป็นต้น ซึ่งมักเรียกกันว่า “นายประกัน”

  หลักทรัพย์ที่ประกันตัวต้องไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดีได้อาจใช้หลักทรัพย์ ต่อไปนี้

1.เงินสด

2.โฉนดที่ดิน ,หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก),กรรมสิทธิ์ห้องชุด

3.พันธบัตรรัฐบาล , สลากออกสิน ,สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

4.สมุดบัญชีฝากประจำ

5.กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ

6.บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน เช่นข้าราชการ ,ลูกจ้าง

            โดยสามารถอ่านคำแนะนำตามเงื่อนไข ในการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยข้างต้น ในการเตรียมเอกสาร,หลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด