ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลบังคับใช้แล้ว ข้อดี คือ คุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นได้มากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือประกอบกิจการให้กู้ยืมเงิน มักมีข้อกำหนดข้อตกลงที่เอาเปรียบผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนอง จึงเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องถูกบังคับชำระหนี้แทนลูกหนี้ในวงเงินที่สูงจนอาจกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายได้
ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลหนึ่งที่ยอมรับที่จะชำระหนี้แทนอีกบุคคลต่อเจ้าหนี้ หากบุคคลนั้นไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยผู้ค้ำประกันต้องอ่านสัญญาและเงื่อนไขให้ดี และข้อควรรู้การก่อนค้ำประกัน กล่าวคือ
1.การค้ำประกันหนี้ในอนาคต หรือหนี้มีเงื่อนไข ต้องระบุเงินสูงสุดที่ค้ำประกันไว้ในสัญญา
3.ข้อตกลงที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกัน ถ้าเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ
4.เจ้าหนี้ลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้เท่าใด ภาระความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันลดจำนวนลงเท่านั้น
5.หน้าที่ของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดและผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าวผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน
ผู้ค้ำประกัน จะไม่จำกัดความรับผิดหรือจะจำกัดความรับผิดชอบของตนไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน โดยผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น
1.ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ ไปเรียกเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ (ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นที่สอง)
2.เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ไม่ว่าชำระแต่โดยดีหรือชำระหนี้โดยถูกบังคับตามคำพิพากษาผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในอันที่จะเรียกเอาเงินชำระให้เจ้าหนี้ใช้แล้วนั้น คืนจากลูกหนี้ได้ตามจำนวนที่ชำระไปตลอดจนทั้งค่าเสียหายต่างๆเนื่องจากการค้ำประกัน
2.เมื่อหนี้ของลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันเอาเงินไปชำระแก่เจ้าหนี้ไว้แน่นอนแล้ว แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับ โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากความรับผิดเช่นเดียวกัน
ดังนั้น แม้ว่าผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ แต่ผู้ค้ำประกันมีสิทธิขอให้เจ้าหนี้ติดตามเรียกลูกหนี้มาชำระหนี้ก่อนตนได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใด และหากผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีหนทางที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เป็นการยาก เจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้นั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่