คดีแชร์

คดีแชร์

เวลาเล่นแชร์ พอถึงเวลาที่ผู้เล่นจะเปียแชร์ ปรากฏว่าเท้าแชร์หนี ซึ่งบ่อยครั้งไม่โดนแค่คนเดียว แต่โดนกันทั้งวง หรือตามสถานการณ์เบี้ยวเงินค่าแชร์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งลูกแชร์สามารถแจ้งความท้าวแชร์ได้ แต่ลูกแชร์ไม่ใช่ฐานะของผู้เสียหายเพราะเป็นความผิดต่อรัฐ

แชร์ หมายความว่า การลงหุ้นเป็นจำนวนเงิน และตามวาระที่กำหนดและประมูลว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินเดือนก่อนหมุนเวียนไปจนครบจำนวนผู้เล่น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534

            1.ห้ามนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ฝ่าฝืนปรับตั้งแต่ 1 เท่าหรือ 3 เท่าของกองกลางแต่ละวงของทุกวงแชร์ ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งหยุดดำเนินการทันที

            2.ห้ามโฆษณาหรือประกาศชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่นแชร์ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 50,000 บาท

            3.ห้ามท้าวแชร์ตั้งวงแชร์รวมกันเกิน 3 วง หรือมีลูกแชร์รวมกันทุกวงไม่เกิน 30 คน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งห้ามมีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันเกิน 300,000 บาทและห้ามท้าวแชร์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากเงินกองกลางการเล่นแชร์เท่านั้น ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            4.เช็คข้อมูลของท้าวแชร์ และสมาชิกร่วมวงแชร์ก่อนเล่น เช่น ชื่อ-นามสกุล อาชีพ ฐานะทางการเงิน บัญชีธนาคาร ฐานะทางการเงิน เป็นต้น

            5.หากท้าวแชร์หนีหรือโกง

            – กรณีมีเจตนาทำวงแชร์ และสมัครใจเล่นแชร์กัน แต่บริหารผิดพลาด หรือเหตุอื่นใด สมาชิกในวงแชร์ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนได้

            – กรณีไม่มีเจตนาทำวงแชร์ และหลอกลวงตั้งใจเชิดเงินหนี สมาชิกในวงแชร์แจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกง

เอกสารที่ต้องเตรียม เมื่อถูกท้าวแชร์โกง

  • หน้า Facebook , line ช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของท้าวแชร์ และคำเชิญชวนที่โพสต์ในโลกออนไลน์
  • ข้อมูลของท้าวแชร์ เช่นบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
  • สเตทเมนต์พร้อมไฮไลท์ยอดที่โอนให้ท้าวแชร์ ให้ตรงกับสลิปที่โอนเงินให้
  • แยกยอดเงินระหว่างเงินส่งแชร์ และเงินที่ได้ดอกในวงแชร์ให้ชัด

            6.ลูกแชร์เปียแชร์แล้วหนี

            –     วงแชร์ ต้องดำเนินการให้มีการเล่นแชร์ต่อไป

            –     ท้าวแชร์ ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายแทน และฟ้องร้องคดีแพ่งไล่เบี้ยเงินจากลูกแชร์ที่หลบหนี

หรือถ้าตั้งใจจะเชิดเงินตั้งแต่แรก ฟ้องร้องคดีอาญาฐาน “ยักยอกทรัพย์” (ตาม ป.อ.มาตรา 352)

 

กรณีโดนโกงค่าแชร์แจ้งที่ไหน

1.แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ที่สถานีตำรวจได้ทั่วราชอาณาจักร

2.ศูนย์รับแจ้งเงินนอกระบบ(การเล่นแชร์) สายด่วน 1359

3.แจ้งความร้องทุกข์ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (มูลค่าความเสียหายเกินกว่า 5 ล้านบาท)

4.ทำเรื่องฟ้องต่อศาล

            เกร็ดความรู้และวิธีการที่แนะนำข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยง หากใครคิดจะเล่นแชร์ ควรศึกษาให้ดี กรณีมีปัญหาจากการโดนโกงค่าแชร์ สามารถให้ทางสำนักงานช่วยดูแลคุณได้อีกช่องทางนึงค่ะ   

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด