ฟ้องสิทธิเลี้ยงดูบุตร ศาลพิจารณาอย่างไร ?

โดยฟ้องสิทธิเลี้ยงดูบุตร เป็นส่วนหนึ่งของคดีครอบครัว สามารถรับบริการ จาก MKC Legal Office
ได้ที่.. ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัว หรือ จ้างทนายคดีครอบครัว

ฟ้องขอเลี้ยงดูบุตร ศาลพิจารณาอย่างไร

สามีภรรยาที่หย่ากันไปก็มีหลายคู่ที่จบด้วยดี แต่ก็มีหลายคู่ที่มีเรื่องให้ต้องทะเลาะกันอีก หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องลูกครับ ทะเลาะกันอีกว่าจะให้ลูกไปอยู่กับใคร ใครจะเป็นคนเลี้ยงดู ฝั่งนึงก็บอกว่าตัวเองเหมาะสมที่จะเลี้ยงลูก อีกฝั่งก็บอกว่าเขามีเงินที่จะส่งเสียเลี้ยงดูลูก คือมีเงินมากกว่า สุดท้ายเรื่องแบบนี้มันเถียงกันไม่จบไม่สิ้นหรอกครับ วันนี้เราเลยจะพาไปดูแนวการวินิจฉัยของศาลในเรื่องนี้กันครับว่าศาลดูอะไรบ้าง

การตกลงกันก่อนฟ้องศาล

แต่ก่อนที่เราจะไปถึงชั้นศาล เราควรจะคุยกับคู่กรณีก่อน คือถ้าคุยกันแล้วมันจบได้ ตกลงกันลงตัว มันจะดีกว่าเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาลมากครับ เสียทั้งเวลาเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีก ดังนั้นหากคุยกันและตกลงกันได้ก็ควรทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างกันว่าจะให้ลูกอยู่กับใครเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์เจอลูกได้ขนาดไหน ก็เขียนลงไปครับ เขียนให้เหมือนสัญญาให้เคลียร์ที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันอีกที ผมเชื่อว่าหย่ากันแล้วคงไม่มีใครอยากมานั่งทะเลาะกันแล้วล่ะครับ

ตกลงกันไม่ได้ ต้องนำเรื่องให้ศาลชี้

ทีนี้ถ้าคุยกันแล้วมันไม่จบ ก็จะต้องฟ้องศาลครับ โดยจะเป็นการฟ้องคดีอำนาจปกครองบุตรครับ เป็นคดีครอบครัว ซึ่งโดยหลักแล้วบุตรต้องการทั้งบิดาและมารดา แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ เช่น หย่ากัน ก็จะต้องมีการแบ่งอำนาจในการปกครองบุตรจากตอนแรกที่ทั้งบิดาและมารดาจะมีเท่าๆ กัน แสดงว่าพอมีการฟ้องร้องกันแล้วอำนาจปกครองบุตรก็จะไม่เท่ากันแล้วครับ อำนาจปกครองของฝ่ายหนึ่งจะเพิ่มขึ้น กลับกันอีกฝ่ายหนึ่งก็จะลดลงครับ และผู้ที่จะเป็นคนตัดสินว่าใครจะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบุตรนั่นก็คือศาลครับ

หลักที่ศาลใช้ในการพิจารณา

ศาลจะพิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก สวัสดิภาพ อนาคต การเป็นอยู่ และอื่นๆ ผมสรุปมาให้คร่าวๆ แล้วประมาณ 5 ข้อ ดังนี้ครับ

          1.ถ้าบุตรยังอ่อนวัยอยู่ ศาลมักจะให้อยู่กับมารดา เพราะมารดามีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่า แต่บิดาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีความสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่ามารดาครับ

          2.ถ้าบุตรอยู่ในความดูแลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมานานแล้ว ศาลก็มักจะให้อยู่กับฝ่ายนั้น เพราะศาลจะไม่ค่อยอยากให้มีการย้ายถิ่นที่อยู่ที่บุตรอาศัย ซึ่งการย้ายไปที่ๆ ใหม่ย่อมแปลกตาอยู่แล้วและหากเด็กเยาว์วัยมากก็อาจจะปรับตัวได้ยากครับ แต่ถ้าเป็นบุตรที่โตพอจะรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ได้แล้ว ศาลก็ต้องดูความรู้สึกและความต้องการของบุตรด้วยว่าอยากอยู่กับฝ่ายไหน

          3.ฝ่ายใดประพฤติดี เรียบร้อย เป็นตัวอย่างที่ดีของบุตร ก็ควรจะให้บุตรอยู่ฝ่ายนั้น แต่หากฝ่ายใดมีพฤติการณ์ที่เสื่อมเสียหรือไม่ดี กไม่สมควรให้บุตรอยู่กับฝ่ายนั้น

          4.ศาลมักจะไม่แยกพี่น้องออกจากกัน ดังนั้นหากมีพี่น้องก็ควรจะให้พี่น้องได้อยู่ด้วยกัน

          5.ฐานะ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู การให้การศึกษา คือเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วครับกับเรื่องเงิน เพราะฝ่ายที่เหมาะสมก็จะต้องมีฐานะในระดับหนึ่งที่จะสามารถเลี้ยงดู ซื้อสิ่งของจำเป็นได้ไม่ขาด หรือสามารส่งเสียเล่าเรียนได้ครับ รวมถึงการจัดหาที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยาด้วย

แต่ข้อพิจารณาต่างๆ สุดท้ายมันก็สามารถนำสืบหักล้างกันได้ครับว่าฝ่ายเราเหมาะสมกว่าอีกฝ่ายไม่เหมาะสมเพราะอะไร แต่สุดท้ายแล้วคดีแบบนี้ในศาลมักจะไปจบที่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งอำนาจปกครองบุตร ซึ่งผมมองว่าดีเลยนะครับ ดีกว่าถูกศาลสั่งให้อยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปเลย

รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ คดีครอบครัว มาให้ชมกัน

สำหรับท่านที่ต้องการ ติดต่อปรึกษาทนายคดีครอบครัว หรือว่าจ้างทนายคดีครอบครัวได้ทางไลน์ @mkclegal