ลูกจ้างต้องระวัง กรณีนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้างต้องระวัง เลิกจ้างกรณีใดที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

         ถ้าลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้าง ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสำหรับการเลิกจ้าง แต่กฎหมายก็มีการบัญญัติยกเว้นบางกรณีที่เลิกจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นกรณีที่ลูกจ้างมีความผิด ส่วนจะเป็นกรณีไหนบ้าง เราไปดูกันเลยครับ

นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าทดแทน

ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

           โดยปกติแล้วหากนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสำหรับการเลิกจ้างนั้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง โดยมีกำหนดเงื่อนไขขึ้นต่ำไว้คือ ลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยนี้จะต้องทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน เป็นขั้นต่ำครับ ง่ายๆ ก็คือลูกจ้างที่ผ่านช่วงทดลองงานหรือช่วงโปรแล้วนั่นเอง

          โดยการเลิกจ้างดังกล่าวก็คือการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม และรวมถึงกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยครับ แต่ไม่รวมถึงกรณีสัญญาจ้างมีกำหนดเวลานะครับ กรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาในการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ในกรณีนี้ครับ

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับการเลิกจ้างในกรณีต่อไปนี้

เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับสำหรับกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีที่เลิกจ้างจะถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 119 ดังนี้ครับ

          1.ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น การลักทรัพย์นายจ้างโดยใช้โอกาสจากหน้าที่ของตน หรือทำร้ายนายจ้าง แต่การทำร้ายลูกค้า เป็นการกระทำความผิดอาญาก็จริง แต่เจตนาที่กระทำนั้นมีต่อลูกค้าไม่ใช่นายจ้าง จึงไม่เข้ากรณีนี้ แต่ก็เป็นการทำผิดร้ายแรง ทำให้นายจ้างเสียหาย เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ครับ

          2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กรณีนี้ก็ตรงตัวครับ ถ้าลูกจ้างจงใจหรือตั้งใจทำให้นายจ้างเสียหาย ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยนี้ไป

          3.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีนี้ก็เหมือนเป็นบทลงโทษลูกจ้างที่กระทำโดยประมาททำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย แต่ความเสียหายในกรณีนี้จะไม่เหมือนกรณีก่อนที่จะต้องเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย

          4.ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องตักเตือน กรณีนี้เป็นการฝ่าฝืนเรื่องภายในของบริษัทที่อาจจะไม่ร้ายแรงมาก กฎหมายจึงกำหนดให้นายจ้างจะต้องทำหนังสือเตือนถึงลูกจ้างก่อน ถ้ายังทำผิดอีกก็สามารถเลิกจ้างได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั่นเอง แต่ถ้าถึงขั้นเป็นความฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยโดยที่ไม่ต้องเตือนก่อนได้เลย

          5.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยหลักแล้วนายจ้างจ้างลูกจ้างมาทำงาน ลูกจ้างก็จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง ถ้าลูกจ้างไม่ทำงานโดยทิ้งงานหายไป 3 วันติดกันโดยที่ไม่มีเหตุสมควร หรือหายไปเลยแบบไม่บอกกล่าวว่าไปไหน กฎหมายก็กำหนดโทษไม่ให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยครับ

          6.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว กรณีนี้จะต้องเป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดและจะต้องได้รับโทษจำคุกด้วยเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจริง แต่ลูกจ้างได้ยื่นอุทธรณ์ กรณีนี้คดีก็ยังไม่ถึงที่สุดครับ โดยหากเป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษที่ไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรง จะเลิกจ้างโดยที่ไม่จ่ายค่าชดเชยได้ในกรณีที่นายจ้างได้รับความเสียหายจากความผิดนั้นด้วยครั

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!