ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ถ้าพูดถึงการฟ้องคดีแพ่ง จะไม่รู้จักกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ได้เลยครับ หากฟ้องกันเกี่ยวกับที่ดินว่าที่ดินนี้เป็นของใคร แต่อีกฝ่ายกำลังจะโอนไปให้คนอื่น หรือฟ้องคดีเรียกหนี้เงิน แต่รู้ว่าอีกฝ่ายกำลังจะโอนย้ายทรัพย์หนี แบบนี้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาช่วยคุณได้ครับ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา คือ วิธีการที่กฎหมายกำหนดขึ้นมาเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างที่กำลังพิจารณาคดีในชั้นศาล ที่ยังไม่รู้ว่าสรุปแล้วแต่ละฝ่ายมีสิทธิหน้าที่ต่อกันอย่างไร โดยจะคุ้มครองไว้ชั่วคราวในระหว่างที่พิจารณาคดีเท่านั้น
โดยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษานี้ก็มีอยู่ด้วยกัน 3 กรณีครับ
1 คุ้มครอง “โจทก์” ให้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี
กรณีของโจทก์นี้จะวางหลักไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 โดยกฎหมายให้โจทก์ขอได้ 4 กรณีครับ
1.1 ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนของจำเลย รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่ถึงกำหนดชำระแก่จำเลยด้วย
1.2 (ก) ให้จำเลยกระทำการหรือหยุดกระทำการสำหรับการกระทำที่เป็นการละเมิดหรือที่ถูกฟ้อง หรือคำสั่งอื่นที่บรรเทาความเสียหายที่โจทก์ได้รับ
หรือ (ข) ห้ามชั่วคราวไม่ให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทกันหรือทรัพย์สินของจำเลยเอง หรือให้หยุดหรือป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินดังกล่าว
1.3 ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราว แต่จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
1.4 จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว กรณีนี้ศาลจะไม่ค่อยสั่งครับ เพราะหากยังมีวิธีการอื่นอยู่ ศาลก็จะใช้วิธีการที่มีก่อน
2 คุ้มครอง “จำเลย” เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
กรณีของจำเลยนี้จะวางหลักไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 และ 253 ทวิ
กรณีมาตรา 253 เหตุที่จะยกขึ้นอ้างในการขอ คือ โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานในไทยและไม่มีทรัพย์สินที่จะนำมาบังคับคดีได้ในไทย หรือ เชื่อได้ว่าถ้าโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อประกันการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายครับ ซึ่งก็คงจะยากใช่ไหมครับเพราะไม่มีใครรู้ว่าจะต้องจ่ายทั้งหมดเท่าไหร่ กรณีนี้ศาลก็จะประมาณเอาครับโดยดูตามเนื้อหาของคดี
กรณีมาตรา 253 ทวิ เป็นกรณีที่คุ้มครองจำเลยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกันแต่จะเป็นการคุ้มครองในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาครับ โดยเหตุที่จะยกขึ้นอ้างและการคุ้มครองที่ให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันนั้นก็จะเหมือนกันกับมาตรา 253 ด้านบนเลยครับ โดยทำเป็นคำร้องยื่นที่ศาลชั้นต้น แต่จะต้องยื่นก่อนที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีจะมีคำพิพากษา
3 คุ้มครอง “คู่ความ” เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ที่พิพาทกันของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา
กรณีคุ้มครองคู่ความนี้จะมีการวางหลักไว้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 เป็นการบัญญัติไว้อย่างกว้างๆ ในกรณีที่ไม่เข้ามาตรา 253 หรือ 254 โดยคู่ความอาจยื่นคำขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินพิพาทมาวางต่อศาล อาจจะเป็นค่าเช่าในที่ดินพิพาทว่าค่าเช่านี้เป็นของใคร ก็อาจขอให้นำเงินนี้มาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอกก็ได้ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่