กฎหมายอาญากับความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

กฎหมายอาญากับความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

11 ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ สถานการณ์ไหนเข้าฐานความผิดใด มาดูกันได้เลยค่ะ

1.ลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

“ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

               คือการที่ผู้ใด เอาไป ในลักษณะแย่งการครอบครอง หรือมีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ หรือเป็นการเอาไปโดยการตัดกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ของผู้อื่น หรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

               กรณีการเอาทรัพย์ไปโดย “เข้าใจโดยสุจริตว่าเจ้าของอนุญาตแล้ว” หรือ “เข้าใจว่าตนเองเป็นเจ้าของทรัพย์” ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

 

2.วิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336

               “ ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

               วิ่งราวทรัพย์ คือการ “ลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า” คือ การลักทรัพย์ ต่อหน้าเจ้าของทรัพย์ในระยะประชิด (แม้เห็นว่ามีคนเอาไป แต่อยู่ห่างจากตัวทรัพย์ ก็ไม่ใช่วิ่งราวทรัพย์) หรือเจ้าทรัพย์ต้อง เห็นการเอาไป และรู้สึกถึงการเอาไปนั้น (ต้องเป็นการเห็น “ขณะลักทรัพย์” ถ้ามองเห็นตอนพาทรัพย์ไปหลังจากลักทรัพย์สำเร็จแล้ว ก็ไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า

               การเอาทรัพย์ไปขณะที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์เผลอ ไม่ใช่การเอาทรัพย์ไปซึ่งหน้า ไม่ผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ (แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์)

 

3.กรรโชกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337

                ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษ…”

               กรรโชกทรัพย์ คือ ข่มขู่  บังคับคนอื่น เอาทรัพย์ โดยข่มขืนใจ คือการบังคับจิตใจ เป็นการทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ ความผิดตามมาตรานี้ จะเป็นความผิดตามมาตรา 309 ฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพด้วยเสมอ และการที่ผู้ถูกข่มขืนใจยินยอมให้ ต้องมาจากเหตุกลัวเพราะการถูกข่มขืนใจ ไม่ใช่เพราะรำคาญ

 

4.รีดเอาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 338

“ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

         รีดเอาทรัพย์ คือ “ขู่” “ แฉ” “ ลับ”  “ รีด”  ซึ่งความลับ คือข้อเท็จจริงที่ไม่ประจักษ์แก่คนทั่วไป และเจ้าของประสงค์จะปกปิด มีองค์ประกอบความผิดเหมือนกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ต่างกันเพียงในความผิดรีดเอาทรัพย์ เป็นการขู่ว่าจะเปิดเผยความลับ และการที่ผู้ถูกข่มขืนใจยินยอมให้ ต้องมาจากเหตุกลัวเพราะการถูกข่มขืนใจ ไม่ใช่เพราะรำคาญ

 

 

5.ชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339

               “ ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ  ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ…”

               ชิงทรัพย์ คือการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย เจตนาเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไป ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุม

เดี๋ยวเราจะมาต่อกันต่อ อีก 6 ฐาน ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

ทางจำเป็นทำอย่างไรได้บ้าง