คดีแพ่ง 5
รวมบทความ บทวิเคราะห์กฎหมาย และความรู้เกี่ยวกับคดีแพ่งที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อเป็นความรู้ติดตัว หรืออ่านเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของท่านทั้งหลาย
41
สัญญาจ้างทำของ
หลายคนคงสงสัย ว่าสัญญาจ้างทำของ มีด้วยหรือ จ้างทำของคืออะไร หรือว่าทำของใส่กันแบบที่มองไม่เห็น “ฉันจะเป่าคาถาเพื่อให้เธอหลงใหล ให้ทองที่แปะน่าฉันทำให้เธอคลั่งไคล้…” ไม่ใช่แบบนั้นแน่นอนค่ะ เป็นแค่ชื่อของสัญญาเฉยๆ ขึ้นอยู่กับว่าจ้างทำอะไร มีรูปแบบสัญญาหรือไม่มีรูปแบบสัญญาก็ได้ แต่แนะนำว่าทุกอย่างควรทำแบบมีสัญญาดีกว่านะคะ
42
คดีมโนสาเร่
หลายคนอาจสงสัยเวลาฟ้องศาลแพ่ง คดีใดควรเป็นคดีมโนสาเร่ หรือคดีใดควรเป็นคดีแพ่งสามัญ ในส่วน ของคดีมโนสาเร่นั้น เวลาจ่ายค่าธรรมเนียมศาลจะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท และอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง มาลองศึกษากันดีกว่าค่ะแบบไหนถึงเป็นคดีมโนสาเร่กันค่ะ
43
ศาลซื้อขายออนไลน์
การซื้อขายบนโลกออนไลน์เป็นเทรนด์ในปัจจุบันมานานแล้ว ยิ่งช่วงโควิดระบาดหนักๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ซึ่งการซื้อขายออนไลน์เป็นเรื่องที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการซื้อของออนไลน์ที่แลกมากับความสะดวกก็มีมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าปลอมบ้าง ไม่ตรงปกบ้าง ชำรุดเสียหายบ้าง โดนโกงโดนหลอกบ้าง หรือบางทีสินค้าที่ได้ก็ดันไม่ใช่สินค้าที่สั่งเลยก็มีครับ
44
สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อได้รับหมายเรียกตำรวจ
เมื่อมีหมายเรียกตำรวจส่งมาที่บ้าน หลายคนตกใจว่าเราไปทำอะไรผิดหรือเปล่า และอาจสงสัยต่อไปอีกว่าเรายังไม่ได้ทำอะไรเลยทำไมถึงมีกระดาษที่เขียนกลางหัวกระดาษว่า “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ส่งมาถึงเรา หากใครยังไม่เจอเเรื่องแบบนี้บอกเลยว่าดีแล้วครับ แต่หากใครกลัว วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่าถ้าได้รับหมายเรียกจากตำรวจ สิ่งที่เราจะต้องทำหรือเตรียมตัวมีอะไรบ้าง
45
ความแตกต่างของตัวแทน - นายหน้า
“ตัวแทน” สามารถเข้าทำกิจการแทนตัวการ รวมถึงมีอำนาจลงลายมือชื่อทำสัญญาและเข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอกได้ ทั้งนี้ หากได้รับมอบหมายจากตัวการ เพราะตามมาตรา 797 ให้ตัวแทนนั้นมีอำนาจทำการแทนตัวการได้ ซึ่งส่งผลให้ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามมาตรา 820 “นายหน้า” มาตรา 845 ให้นายหน้ามีอำนาจเป็นเพียงผู้ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญา หรือจัดการให้ได้ทำสัญญากัน กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิทำสัญญาแทนตัวการหรือลงลายมือชื่อในสัญญาแทนตัวการได้
46
ร่างสัญญาสำคัญไฉน
ในการทำสัญญาอะไรก็ตาม กรณีกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญานั้นก็ควรทำเป็นหนังสือ ถึงจะใช้บังคับกันได้ ในการทำสัญญากับใครก็ตาม ขอแนะนำเลยว่าควรทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือดีกว่า การร่างสัญญาแต่ละประเภทจึงต้องมีรูปแบบที่แตกต่างกันตามสัญญาและตามผลของกฎหมายที่จะใช้บังคับในประเด็นรายละเอียด แต่ก็มีรูปแบบเบื้องต้นที่เหมือนกัน ดังนี้ค่ะ
47
ขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้ว ถ้าคู่ความไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวเพื่อให้ศาลอุทธรณ์กลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ต่อศาลชั้นต้นในแผนกอุทธรณ์ฎีกา โดยมีขั้นตอนรายละเอียดดังต่อไปนี้ค่ะ
48
การฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
เรื่องของเงิน ภาระหนี้สิน ไม่เข้าใครออกใคร ถึงเวลาอาจต้องล้มละลาย แบบล้มทั้งยืน ถ้าหากถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดขาดแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นบุคคลล้มละลาย ลูกหนี้ควรขอเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้ก่อน เพราะถ้าหากถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จะไม่สามารถทำนิติกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินได้ ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนนั้น เมื่อรู้เรื่องเบื้องต้นที่เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ค่ะ
49
เมื่อเจ้าของบ้านกลายเป็นโดนข้อหาบุกรุกบ้านตัวเอง
การบอกเลิกสัญญาเช่า ไม่ควรบอกเป็นวาจาอย่างเดียว ควรบอกเป็นหนังสือ และสัญญาเช่าต่อให้อยู่ระยะสั้น หรือระยะยาว ควรมีการเขียนเป็นหนังสือ เผื่อกรณีมีปัญหาในภายหลัง สามารถใช้บังคับกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการบอกเลิกสัญญาเช่า ก็มีสิ่งที่ผู้ให้เช่าควรรู้มิฉะนั้นท่านอาจโดนฟ้องร้องซะเองทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา
50
หนังสือทวงถาม
เรามาทำความรู้จักกับหนังสือบอกกล่าวทวงถามกันก่อนครับ หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือ หนังสือที่เจ้าหนี้ส่งให้แก่ลูกหนี้เพื่อเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้กำหนด หรืออาจจะเป็นหนังสือแจ้งเจตนาของตัวเจ้าหนี้ก็ได้ เช่น แจ้งการบอกเลิกสัญญาครับ โดยตัวหนังสือนี้เจ้าหนี้จะแจ้งไปด้วยว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามเจ้าหนี้จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล