ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
การจำนองที่ดิน คือ กรณีที่เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนจำนวนมาก จึงนำทรัพย์สินหรือที่ดินของตนไปจำนองกับผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการเรียกเก็บหนี้ โดยที่ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)
ตัวอย่าง หากจำนองเฉพาะที่ดิน จะไม่ครอบคลุมถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย
แต่ทั้งนี้ถ้าผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด ก็จะโดนฟ้องร้องเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย หากมีคำพิพากษาจากศาล ผู้รับจำนองหรือธนาคารมีสิทธิ์จะนำที่ดินที่จำนองไว้ไปขายทอดตลาด เพื่อเอามาชำระหนี้ที่เหลือ
ข้อควรรู้ทางกฎหมายกำหนดแบบไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น หากไม่ทำตาม แบบการจำนองจะเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาการจำนอง ควรจะระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับมูลค่า เช่น กู้เงิน 1,000,000 บาท โดยนำที่ดิน มูลค่า 2,000,000 บาท มาจำนอง สามารถระบุให้ชัดเจนว่า การจำนองนี้เป็นหลักประกันหนี้ เพียง 1,000,000 บาท เท่านั้น
ในกรณีที่ผู้จำนองชำระหนี้ครบทุกงวดแล้ว ให้แจ้งไปยังธนาคารที่ขอกู้เงิน จากนั้นรอรับโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจ ไปยื่นเรื่องขอไถ่ถอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินได้เลย
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่