การบังคับคดีมีกี่ประเภท

การบังคับคดีมีกี่ประเภท

การบังคับคดีมีกี่ประเภท

                    หมายบังคับคดี คือ คำสั่งของศาลที่ตั้งเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายบังคับคดีจะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับว่าจะให้ออกหมายบังคับเรื่องอะไร บางเรื่องแม้ศาลยังไม่พิพากษาก็สามรถขอออกหมายบังคับคดีได้ เช่น การคุ้มครองชั่วคราวฉุกเฉิน ดังนั้นในการออกหมายบังคับคดี จะระบุเงื่อนไขไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 
                   มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
                  

                    ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
      

                   อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
ซึ่งมาตราดังกล่าวจะกำหนดสภาพแห่งการบังคับคดีเพียงเท่าที่เปิดช่องให้กระทำทางศาล หรือโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่น
1.การยึดทรัพย์
2.การอายัดทรัพย์ทรัพย์สิน
3.การขายทอดตลาด
4.การบังคับขับไล่,รื้อถอน
5.อื่นๆเช่น การห้ามชั่วคราว

                      โดยการขอบังคับคดี ตามมาตรา 274 (ขออธิบายโดยสังเขป) กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยไม่ใช่วันคำพิพากษาถึงที่สุด โดยคู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี หรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติภาคนี้ ส่วนกรณีผู้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิเจ้าหนี้ เฉพาะกรณีให้ชำระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง  

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด