ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
“คนมีประวัติต้องคดี” เวลาไปสมัครงานที่ไหน จะไม่สามารถสมัครงานได้ เพราะข้อมูลของท่านอยู่ในฐานประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเมื่อมีการตั้งข้อหาโดยพนักงานสอบสวน ตามระเบียบจะให้นำประวัติและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาทุกคน ลงในฐานข้อมูลในประวัติอาชญากร ดังนั้น “คนไทยเป็นอาชญากรตั้งแต่ถูกตั้งข้อหา” ไว้อัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลยกฟ้องค่อยมาขอคัดแยกออกมา ปัญหาในปัจจุบันในการเชื่อมฐานข้อมูลไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ และเนื่องจากอัยการก็ไม่ได้แจ้งกลับมา ศาลยกฟ้องก็ไม่ได้แจ้งกลับมา ซึ่งประชาชนต้องไปขอเอกสารมาจากศาลมาเพื่อมายื่นที่สำนักงานตำรวจ โดยเป็นการขอคัดแยกว่าเรื่องจบแล้ว แต่ไม่ใช่การลบประวัติ ซึ่งวิธีการออกจากทะเบียนอาชญากรได้ตามสำนักงานทะเบียนแห่งชาติ จริงๆมี 2 วิธี คือ 1.เสียชีวิตแล้ว 2.เจ้าหน้าที่จับผิดตัว ที่เหลือแค่ขอคัดแยก คือทะเบียนยังอยู่แค่ขอคัดแยกไม่ได้มีการลบ ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการเปลี่ยนระเบียบสำนักงานใหม่เป็น ทะเบียนประวัติผู้ต้องหาและทะเบียนประวัติอาชญากร เนื่องจากมองว่าในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกยกฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว ควรจะถูกลบประวัติออก เพื่อจะได้มีชีวิตใหม่ในฐานะพลเมืองคนไทยคนหนึ่งที่สามารถออกไปประกอบอาชีพหรือหางานทำได้ มีโอกาสในการทำมาหากินได้ การจะเป็นอาชญากรควรเป็นต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว ซึ่งอาชญากรค่อยเป็นทะเบียนที่ศาลพิพากษาแล้ว(ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดูแล) ซึ่งตำรวจดูแลทะเบียนประวัติผู้ต้องหา ที่เชื่อมฐานข้อมูลที่ศาลพิพากษาแล้วเป็นอาชญากรด้วย ตามรัฐธรรมฯ มาตรา 29 วรรค 2 ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษา อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ โดยอาชญากรจะบันทึกลงในระบบเมื่อศาลพิพากษาแล้ว โดยสามารถตรวจเช็คประวัติเบื้องต้นทางเว็บไซต์ www.crd-check.com
ซึ่งการออกจากทะเบียนอาชญากร คือ เสียชีวิตแล้ว หรือเจ้าหน้าที่จับผิดตัว โดยการคัดแยกประวัติอาชญากรที่จะบอกต่อไปนี้ เป็นการคัดแยกเพื่อให้ท่านเองสามารถสมัครงานได้ ไม่มีประวัติติดตัว แต่ไม่ใช่การลบประวัตินั้นเอง
โดยมีเงื่อนไขในการคัดแยกประวัติอาชญากรไว้ คือ
1.คดีสิ้นสุดอย่างไร เช่น อัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลไม่ประทับรับฟ้อง ศาลยกฟ้อง หรือลงโทษปรับอย่างเดียว แต่กรณีที่มีโทษจำคุก ไม่ว่าจะจำคุกจริง หรือไม่จริง หรือมีการรอลงอาญา (คัดแยกประวัติไม่ได้)
2.กรณีเป็นเด็ก หรือเยาวชน
โดยหากท่านประสงค์จะคัดแยกประวัติอาชญากร ให้ไปติดต่อที่สถานีตำรวจเจ้าของคดี เพื่อขอตรวจผล
คดีและขอแจ้งผลคดีถึงที่สุดจากสถานีตำรวจเจ้าของคดี แล้วนำมาติดต่อที่งานผลคดี ศูนย์ตรวจสอบประวัติชั้น 1 อาคาร 7 กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปทุมวันฯ หรือให้ท่านนำคำพิพากษา หรือหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดที่ท่านได้มาจากศาล ไปติดต่อสถานที่ดังกล่าว โดยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-205-2146 หรือโทร 02-205-1315 หรือเว็ปไซต์ https://criminal.police.go.th/faq.php#cut
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่