ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในช่วงที่ผ่านมาก็พึ่งจะมีข่าวใหญ่เรื่องแชร์ลูกโซ่ที่ทำให้หลายคนต้องหมดตัว ซ้ำร้ายยังมีคนที่มีฐานะทางสังคมเข้ามาพัวพันอีก แต่ผมเชื่อว่ามีหลายคนที่ไม่รู้ว่าแชร์ลูกโซ่จริงๆ มันคืออะไร วันนี้เรามีคำตอบให้คุณครับ
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อแชร์แม่มณี แชร์แม่ชม้อย และล่าสุดแบบสดๆ ร้อนๆ อย่าง Forex-3D ซึ่งชื่อทั้งหลายที่ผมบอกไปเป็นพียงแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการอันแสนโหดร้ายที่หลอกลวงเอาเงินของเราไป ยังมีอีกหลายขบวนการที่ไม่ได้พูดถึงและเชื่อเถอะว่ามีอีกหลายขบวนการที่กำลังทำแบบนี้อยู่ เพียงแค่ยังไม่ถูกเปิดโปงก็เท่านั้น ผมว่าเราเกริ่นกันมามากพอแล้วไปดูที่เนื้อหากันเลยครับว่าแชร์ลูกโซ่คืออะไร แล้วแชร์ลูกโซ่จะเป็นความผิดฐานใดตามกฎหมาย
เรามาดูกันที่ความหมายของคำว่า “แชร์ลูกโซ่” กันก่อนครับ แชร์ลูกโซ่ คือ การที่คนๆ หนึ่ง ชวนคนอีกคนหนึ่งมาร่วมกันลงทุนในธุรกิจหนึ่งซึ่งอ้างว่าจะได้ผลกำไรหรือได้ผลตอบแทนที่ดีมาก อ้างว่าต่างจากการลงทุนอื่นๆ ที่จะได้เงินไม่เยอะเท่าและช้ากว่า แล้วก็ยังเสนอผลตอบแทนที่สูงแต่ใช้ระยะเวลาไม่มากเพื่อจูงใจคนให้นำเงินมาลงทุนครับ ซึ่งก็แทบจะเป็นรูปแบบตายตัวเลยที่ใครที่มาลงทุนเป็นกลุ่มแรกๆ ก็จะได้ผลตอบแทนที่สูงแน่นอเพราะองค์กรเขาต้องการให้กลุ่มแรกนี้แหละไปกระจายข่าว ไปบอกต่อกับคนอื่นๆ ให้นำเงินมาลงสิ ได้ผลตอบแทนเยอะนะ เราก็เอาเงินไปลง ได้เงินกลับมาเยอะเลย นี่แหละครับเรียกได้ว่า ลงล็อกเลย
จะเห็นว่าแชร์ลูกโซ่จะมีการบอกต่อกันไปเรื่อยๆ จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง แล้วคนหนึ่งที่รับมาก็ใช่ว่าจะไปบอกคนอื่นแค่คนเดียวหรือ 2 คน บางทีบอกต่อกันไป 10 เป็น 100 เพราะเดี๋ยวนี้มีข่าวอะไรออกมาก็สามารถแชร์ผ่านโซเชียลไปหาคนอื่นได้ง่ายๆ แล้ว ยิ่งเรื่องนี้ที่เกี่ยวข้องกับเงินเยอะๆ นี่ผมว่ามันไปเร็วกว่าข่าวทั่วไปอยู่แล้วครับ โดยเงินที่ได้มาจากสมาชิกคนใหม่ก็จะถูกนำมาจ่ายให้กับสมาชิกเก่าเป็นทอดๆ มันถึงได้ชื่อว่าแชร์ลูกโซ่ครับ และเมทื่อหาสมาชิกเพิ่มไม่ได้หรือหมุนเงินไม่ทัน ก็จะเลื่อนหรือผลัดการจ่ายผลตอบแทน จนสุดท้ายก็ปิดวงหนีในที่สุดครับ
ตามกฎหมายเวลาจะฟ้องศาลหรือเวลาไปแจ้งตำรวจ ก็จะลงคดีแบบนี้เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คือเป็นบทหนักของฉ้อโกงที่หลอกลวงคนเป็นจำนวนมาก กฎหมายจึงลงโทษผู้กระทำหนักขึ้น เราไปดูบททั่วไปกันก่อนที่ความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ที่วางหลักว่า ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดสิ่งที่ควรบอก และได้เงินไปจากการหลอกลวงนั้น ง่ายๆ เลยก็คือไปหลอกลวงเขา จนเขายินยอมมอบเงินให้นั่นเอง
ส่วนในเรื่องฉ้อโกงประชาชนจะอยู่ในมาตรา 343 ที่วางหลักว่าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ได้กระทำแก่ประชาชนจำนวนมาก คือหลอกลวงประชาชนหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกประชาชน คือไปหลอกคนจำนวนมากจนเขาให้เงินมานั่นแหละครับ และแชร์ลูกโซ่ก็คือ เข้าเต็มๆ
เพราะฉะนั้นทุกคนต้องตั้งสติให้ดีก่อนที่จะเอาเงินของเราไปลงทุนกับใครและตรวจสอบที่มาที่ไปของบริษัทที่เราจะไปลงทุนเสียก่อนว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เปิดมานานหรือยัง โดยการตรวจสอบก็จะต้องตรวจสอบจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือด้วยนะครับ เช่น เว็บไซต์ของทางราชการ หรือจะไปเช็คที่หน่วยงานราชการเลยก็จะทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้นครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่