ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ขายฝากที่ดิน หรือ สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน โดยผู้ซื้อฝากจะได้รับประโยชน์ในรูปแบบดอกเบี้ย โดยกำหนดไว้ไม่เกิน 15 % ต่อปี และได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืนทันทีเมื่อผู้ขายฝากที่ดินนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินคืนตามข้อตกลงในสัญญา
ซึ่งหากกรณีเมื่อครบกำหนดตามสัญญาขายฝากที่ดินแล้ว ปรากฏว่าผู้ขายฝากยังไม่พร้อมไถ่ถอนคืน ซึ่งสามารถขอต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งระยะเวลาขายฝากที่ดิน กฎหมายกำหนดห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือกำหนดสูงสุด ไม่เกิน 10 ปี ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหมายรวมถึงที่ดิน และ 3 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์
การขายฝากที่ดิน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่ต้องการเปลี่ยนทรัพย์สินที่ดินเป็นเงิน แต่ไม่ต้องการขายขาด ซึ่งตอบโจทย์ผู้ขายฝากที่ต้องการเงินด่วน และสามารถไถ่คืนได้ภายหลัง แต่ในบางครั้งการขายฝากที่ดิน ก็ไม่การันตีได้ว่า ที่ทำนิติกรรมขายฝากไปจะไม่โดนโกง
1.ดูรายละเอียดในข้อสัญญาให้ดี สาระสำคัญของสัญญา เช่น จะต้องระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา , มีการแสดงรายการและลักษณะทรัพย์สิน ราคาที่ขายฝาก, จำนวน สินไถ่ที่ต้องไถ่คืน , ระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่คืน และอีกประเด็นสำคัญ คือ การคิดดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี หรือต่อเดือนไม่เกิน 1.25% ต่อ เดือน ซึ่งถ้าเกินไปจากนี้ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ควรทำสัญญาด้วย
การขายฝากที่ดิน เพื่อนำเงินมาใช้ด่วนแล้วไถ่คืนในภายหลัง เป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว แต่ก็ควรศึกษาข้อกฎหมายและรายละเอียดอื่นๆก่อนการขายฝากที่ดิน ให้ขายฝากที่ดินยังไง ไม่ให้โดนโกงค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่