ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง วันนี้มากับเรื่องต้องรู้ ก่อน ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ถ้าไม่ใช่บุตรโดยชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่? คู่ไหนไม่ได้จดทะเบียนสมรส
#ทนายเล่าเรื่อง วันนี้เราก็มากับคดีที่ขึ้นสู่ศาลกันอีกตามเคยนะครับ สำหรับวันนี้เป็นคดีฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ เพราะหลายคนยังสงสัยว่าบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดาได้หรือไม่ บอกได้คำเดียวเลยครับว่า ห้ามพลาดเด็ดขาด! เราไปดูกันเลยครับ
คดีนี้นางส้มกับนายแดงเป็นคู่รักกัน อยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ทั้งคู่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 1 คนคือ ด.ช.เหลือง ต่อมานางส้มบอกให้นายแดงไปจดทะเบียนรับ ด.ช.เหลืองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่นายแดงก็ไม่ยอมไปดำเนินการ สุดท้ายมีปัญหาทะเลาะกันจนนางส้มและนายแดงแยกกันอยู่อาศัย โดยให้ ด.ช.เหลืองอยู่กับนางส้มที่เป็นแม่ หลังจากแยกกันอยู่ นายแดงก็ส่งเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.เหลืองได้อยู่ปีเดียว จากนั้นก็ไม่ได้ส่งให้อีก ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากกับนางส้มที่ปกติรายได้ก็มีไม่เพียงพออยู่แล้ว
นางส้มจึงฟ้องนายแดงเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการศึกษาแก่ ด.ช.เหลืองเดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันที่นายแดงหยุดส่งเงินเป็นต้นไปจน ด.ช.เหลืองบรรลุนิติภาวะ ซึ่งรวมแล้วเป็นเงิน 912,000 บาท และขอให้นายแดงไปดำเนินการจดทะเบียนรับรองว่า ด.ช.เหลืองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน หากไม่ปฏิบัติตามขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
นายแดงเข้ามาต่อสู้คดีโดยให้การว่า นางส้มไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากตนเพราะ ด.ช.เหลืองไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแดง สิทธิและหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูยังไม่เกิดขึ้น และนายแดงยังอ้างอีกว่า นางส้มจะต้องไปฟ้องให้ศาลพิพากษาว่า ด.ช.เหลืองเป็นบุตรของนายแดงก่อน ถึงจะมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ ก็น่าคิดใช่ไหมครับว่าที่นายแดงอ้างมันก็ดูมีเหตุผล แต่ก็มีคำถามว่าถ้าเป็นแบบนี้มันจะแฟร์กับแม่และเด็กเหรอ แล้วต้องใช้เวลากี่ปีล่ะถึงจะได้ค่าเลี้ยงดู แบบนี้เอาเวลากับเงินที่ต้องใช้ขึ้นศาลไปเลี้ยงลูกไม่ดีกว่าหรือ? ถ้าอ่านถึงแค่ตรงนี้ ทุกคนคิดเห็นยังไง คอมเมนต์ไว้หน่อยนะครับ ทีนี้เราไปดูกันเลยว่า ศาลจจะตัดสินว่ายังไง
คดีนี้ ศาลเห็นว่า การที่นางส้มฟ้องขอให้นายแดงรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันครับ นางส้มจึงสามารถฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวได้ โดยไม่ต้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ด.ช.เหลืองเป็นบุตรโดยชอบของนายแดงก่อน แล้วค่อยมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกที
ศาลพิพากษาให้ ด.ช.เหลือง เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายแดง และให้นายแดงชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.เหลือง ให้แก่นางส้ม เป็นรายเดือน เดือนละ 3,000 บาท โดยให้นายแดงชำระทุกวันสิ้นเดือนของทุกเดือนติดต่อกันไป นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่า ด.ช.เหลืองจะบรรลุนิติภาวะ
เป็นยังไงกันบ้างครับ แบบนี้ก็ยุติธรรมดีใช่ไหมล่ะครับ ถ้างั้นผมขอสรุปง่ายๆ ว่า เราสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากพ่อได้ครับ โดยให้ฟ้องขอให้รับรองบุตรและเรียกค่าเลี้ยงดูรวมกันมาทีเดียวได้เลยครับ
อ้างอิง : ฎ.9017/2538
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่