การฟ้องคดีผู้บริโภค ฟ้องเองได้ไหม?

การฟ้องคดีผู้บริโภค ฟ้องเองได้ไหม?

          เมื่อได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่างๆ หรืออื่นๆ กฎหมายได้มีการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคโดยผู้บริโภคหรือผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคได้ เพื่อเรียกค่าเสียหาย หรือค่าชดเชยที่สมเหตุสมผลตามแต่กรณี

การฟ้องคดีผู้บริโภค ฟ้องเองได้ไหม?

การฟ้องคดีผู้บริโภค ฟ้องเองได้ไหม?

ผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตราย

                  ผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีผู้บริโภคได้ด้วยตนเองหรือแต่งตั้งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยเบื้องต้นไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม หรือยื่นคำฟ้องออนไลน์ คดีผู้บริโภคผ่านระบบ e-Filing ของศาลยุติธรรมได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยการฟ้องคดีผู้บริโภคดังกล่าว ในเรื่องของภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ผู้เกี่ยวข้องในคดี ได้แก่

1. ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึง ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
2. ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการ
3. ผู้เสียหาย หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะ เป็นความเสียหายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพอนามัยจิตใจหรือทรัพย์สินแต่ไม่รวมถึงความเสียหายต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น

ขั้นตอนการยื่นฟ้องคดีผู้บริโภค, อายุความ และฟ้องที่ศาลไหนได้บ้าง

1. กรณีผู้บริโภคหรือผู้เสียหายยื่นฟ้องต่อศาล ให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาล แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภคได้เฉพาะเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิ ลำเนาอยู่เท่านั้น
2. ให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่แผนกคดีผู้บริโภค ภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
3. หากความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง ถ้าเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง
4. ในการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
5. การยื่นฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึกคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ฟ้องจึงสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้
6. คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่ต้องมาฟ้องคดี รวมทั้งต้องมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจนพอที่จะให้เข้าใจได้
7. เมื่อศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาและออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน
                 แต่หากมีกรณีสงสัยว่าควรฟ้องคดีผู้บริโภคแบบไหนดี สามารถนำปัญหาที่พบเจอมาปรึกษาทางทนายก่อนได้เลยนะคะ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด